สมัชชาคนจน เล่า 10 ปีสุดช้ำ ย้ำทางรอดเดียว ‘ร่างรธน.ใหม่’ ทะลุฟ้า ร่ายบทกวีขยี้แผลลึก

สมัชชาคนจน เล่า 10 ปีสุดช้ำ ย้ำทางรอดเดียว ‘ร่างรธน.ใหม่’ ทะลุฟ้า ร่ายบทกวีขยี้แผลลึก

เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม ที่อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา สี่แยกคอกวัว กรุงเทพฯ ในวาระครบรอบ 10 ปี คสช. กลุ่มสมัชชาคนจน ร่วมกับ 24 มิถุนาประชาธิปไตย ทะลุฟ้า และคณะรณรงค์เพื่อรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน (ครช.) จัดงาน ‘10 ปี รัฐประหาร คสช. ไม่ลืม ไม่ลืม ไม่ลืม’

โดยตั้งแต่เวลา 17.40 น. มีการบรรเลงดนตรีจากกลุ่มทะลุฟ้าและวงสามัญชน สลับกับการปราศรัย

จากนั้น เวลา 18.07 น. น.ส.พูนสุข พูนสุขเจริญ หรือ เมย์ จากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน กล่าวในหัวข้อ “10 ปี แห่งความอยุติธรรม”

Advertisement

นายไพฑูรย์ สร้อยสด ตัวแทนกลุ่มสมัชชาคนจน กล่าวในหัวข้อ “10 ปี แห่งความชอกช้ำ”

นายไพฑูรย์กล่าวว่า หลังรัฐประหาร มีชาวบ้านถูกเจ้าหน้าที่หน่วนงานความมั่นคง ทั้ง กอ.รมน. สันติบาล รวมถึงผู้ใหญ่บ้าน คอยติดตามควบคุม สอดส่องพฤติกรรมของพวกเราดูอย่างดีเยี่ยม ทำให้การดำเนินชีวิตของเราเป็นไปอย่างยากลำบากการแก้ไขปัญหาของสมัชชาคนจน แทบจะเป็นไปไม่ได้

จนวันที่ 24 มิ.ย.2557 มีการออกประกาศ ให้อำนาจเจ้าหน้าที่รัฐ ใช้กฎหมายผู้บุกรุกทำลายทรัพยากรรัฐได้อย่างเด็ดขาด ทางกลุ่มเราจึงออกแถลงการณ์ ซึ่งเราเจรจากับรัฐบาลมาก่อนหน้านี้แล้ว ไม่ได้บุกรุก ต่อมา มีการยกเว้นกรณีผู้ยากไร้ จนต่อมาเกิด ‘นโยบายทวงคืนผืนป่า’

Advertisement

“นโยบายทวงคืนผืนป่า ยึดที่ดินของพี่น้องคนจน ที่อยู่ในอุทยาน ป่าสาธารณะ ที่ราชพัสดุ มีรถขับเข้ามาไล่ให้ชาวบ้านนออกจากพื้นที่ภายใน 15 วัน เอาเอกสารให้ไปลงชื่อ อ้างว่าเป็นการลงทะเบียนเพื่อรับการแก้ไขปัญหา แต่ลงท้ายว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้บุกรุก

สิ่งที่เราสู้ คือมันเป็นที่ดินของเรา เป็นที่ดินของพวกเขา แต่กลับให้เราลงชื่อว่าเป็นผู้บุกรุก เราเลยยอมรับไม่ได้”

ช่วงก่อนหน้านั้น ได้ยินเรื่องเล่าจากพี่น้องเครือข่ายอื่นๆ ถึงวิธีการที่รัฐใช้อพยพคนออก โดยเริ่มจากเบาไปหาหนัก พอเราไม่ยอมออก เริ่มเห็นปฏิบัติการเหล่านี้มากขึ้นทุกวัน ทำให้เรารู้สึกไม่ปลอดภัย พี่น้องเก็บข้าวของออกจากบ้าน ขึงเชือกล้อม ประกาศเป็นพื้นที่ชุมนุมเลย เราพยายามใช้คำสั่ง คสช. ที่ 66 ที่ยกเว้นผู้ยากไร้ ” นายไพฑูรย์กล่าว

นอกจากนี้ นายไพฑูรย์ เผยว่ายังมีเรื่องไม้ ที่มีการนำเจ้าหน้าที่มาแถลงข่าวว่า ‘บ้านเก้าบาตร’ อ.โนนดินแดง จ.บุรีรัมย์ ใช้สารเคมีจำนวนมาก ทำให้เกิดมลพิษ ทั้งที่มีโรงงานเอกชนตั้งอยู่มานานแล้ว

นายไพฑูรย์เผยว่า ชาวบ้านเก้าบาตรหลายคนฝากชีวิตไว้กับพื้นที่ เพราะปลูกอะไรก็ได้กิน เสียสตางค์ซื้อแค่ผงชูรสกับน้ำตาล

“มันอุดมสมบูรณ์ เป็นหมู่บ้านในอุดมคติ แต่วันนี่้ 10ปี เรายังกลับบ้านไม่ได้ หลายคนที่ออกมาต้องดิ้นรนหาเช่าบ้าน บางคนต้องไปทำงานถึงใต้ ล่าสุดมีพี่น้องไปรับจ้าง ในไซต์ทำงาน ของโรงงาน โดนไฟคลอก ถ้าหากว่าเขาได้อยู่ที่บ้าน คงไม่ต้องเจอเรื่องแบบนี้ นี่คือความชอกช้ำ” นายไพฑูรย์เผย

นายไพฑูรย์กล่าวว่า ภายใต้รัฐธรรมนูญ 2540 การเจรจาแก้ไขปัญหาของสมัชชาคนจน เราเจรจาอย่างเสมอหน้า เต็มภาคภูมิ เพราะมีสิทธิยันยันในรัฐธรรมนูญอยู่แล้ว แต่ทุกวันนี้ไม่เป็นอย่างนั้น

“ทางออกตอนนี้มีทางเดียว เราต้องฉีกรัฐธรรมนูญ 2560 เขียนใหม่ทั้งฉบับ รัฐธรรมนูญต้องมาจากประชาชน” นายไพฑูรย์ระบุ

ต่อมา บรรยากาศเวลา 19.25 น. วงสามัญชน และทะลุฟ้า บรรเลงบทเพลงที่มีเนื้อหากล่าวถึงค่าของคน และอีกหลายบทเพลง ซึ่งล้วนเป็นบทเพลงที่ใช้ในขบวนการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย อาทิ หัวใจเสรี ของไททศมิตร

ในระหว่างนี้ นายทรงพล สนธิรักษ์ หรือ ยาใจ ทะลุฟ้า ร่ายบทกวีที่มีเนื้อหาฝากถึงผู้มีอำนาจ
ไปจนถึงบทกวี ที่ฝากฝันของประชาชน ให้ได้ใช้ชีวิตอย่างเสรี ไม่ต้องทุกข์ทนจนตาย

ก่อนต่อด้วยเพลง แสงดาวแห่งศรัทธา

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image