อาจารย์จุฬาฯ ซัดหลักเกณฑ์แบ่งกลุ่มอาชีพเลือก ส.ว. ซับซ้อน ไม่สอดคล้องพื้นฐานระบบเลือกตั้ง

อาจารย์จุฬาฯ ซัดหลักเกณฑ์แบ่งกลุ่มอาชีพเลือก ส.ว. ซับซ้อนสร้างความสับสน ไม่สอดคล้องพื้นฐานระบบเลือกตั้ง

เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม ผศ.ดร.พรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระบุทางเฟซบุ๊กส่วนตัวถึงระบบการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ที่มีความซับซ้อน ไม่สอดคล้องพื้นฐานระบบเลือกตั้ง ความดังนี้

เอาเข้าจริงแล้ว ระบบการคัดเลือกผู้แทนโดยเฉพาะอย่างยิ่งของ วุฒิสภา ด้วยการเลือกผ่านกลุ่มวิชาชีพนั้นไม่ใช่เรื่องใหม่อะไร เพราะระบบเช่นนี้มีมาตั้งสมัยโบราณตราบจนปัจจุบันก็มีบางประเทศที่ใช้ระบบเช่นนี้อยู่

อย่างไรก็ดี แม้ในต่างประเทศจะมีการออกแบบระบบการคัดเลือก ส.ว. ด้วยการนำเอา “กลุ่มวิชาชีพเป็นฐานในการคัดเลือก” ซึ่งก็มีลักษณะทำนองเดียวกันกับระบบการได้มาซึ่ง 200 ส.ว. ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญไทยปัจจุบัน แต่หากพูดกันในเชิงรายละเอียดแล้วคงต้องบอกว่าไม่เหมือนกันเสียทีเดียว โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระบวนการคัดเลือกบุคคลในกลุ่มวิชาชีพต่างๆ ที่ของบ้านเรานั้นมีความสลับซับซ้อนและยุ่งยากมากกว่า

Advertisement

และนี่คือ ปัญหาของการออกแบบระบบการได้มาซึ่งสมาชิกรัฐสภา (ทั้ง ส.ส. และ ส.ว.) ภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันที่ทำให้ซับซ้อนยุ่งยากมากเกินความจำเป็นอันนำมาสู่ความคลุมเครือสับสนต่อผู้สมัคร และประชาชน (เผลอๆ ต่อผู้คุมกติกาอย่าง กกต.เองเสียด้วย) ไม่สอดคล้องกับหลักการพื้นฐานของการออกแบบระบบเลือกตั้ง

อนึ่ง แม้ภาพรวมๆ หลายท่านจะเห็นว่าระบบการคัดเลือก ส.ว. ชุดใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้นนั้นอยู่บนฐานคิดของการเลือกจากกลุ่มวิชาชีพ (รวมถึงผู้ยกร่างรัฐธรรมนูญด้วย) แต่หากพูดกันอย่างเคร่งครัดในทางวิชาการแล้ว ผมเห็นว่า “ไม่ใช่ระบบการเลือกจากกลุ่มวิชาชีพแท้ๆ” หากแต่เป็นระบบผสมครับ

Advertisement

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image