อโยธยาถูกบังคับสูญหาย “ไฮสปีด เทรน” ผ่าสองซีกอโยธยา

อโยธยาถูกบังคับสูญหาย “ไฮสปีด เทรน” ผ่าสองซีกอโยธยา

อโยธยาถูกบังคับสูญหาย

ไฮสปีด เทรน” ผ่าสองซีกอโยธยา

รายงานโดย ผู้สื่อข่าวพิเศษ

อโยธยาคืออะไร? มาจากไหน? เมื่อไร? คนไทยทั่วไป โดยเฉพาะชาวอยุธยาส่วนมากหรือเกือบหมดไม่รู้

Advertisement

อโยธยา เมืองต้นกำเนิดอยุธยา หรือเมืองเก่าของอยุธยา และเมืองต้นกำเนิดคนไทยกับประเทศไทย มีแม่น้ำป่าสัก (คูขื่อหน้า) เป็นแนวขุดใหม่ แบ่งพื้นที่อโยธยากับอยุธยา (ขวา) อยุธยา บริเวณทางใต้วังจันทรเกษม (ซ้าย) อโยธยา มีทางรถไฟสายเหนือและสายอีสาน ตัดผ่าเมือง ซึ่งมีสถานีรถไฟอยุธยา (วงกลม) อยู่ชิดแม่น้ำป่าสัก เป็นพื้นที่ก่อสร้าง “ไฮสปีด เทรน” รถไฟความเร็วสูง ซึ่งเท่ากับทำลายสิ้นซากเมืองอโยธยา

เมืออโยธยา . พระนครศรีอยุธยา ถูกบังคับสูญหายเท่าที่รู้และเข้าใจขณะนี้มี 2 ครั้ง

ครั้งแรก จากเหล่านักวิชาการโบราณคดีที่ยกย่องคนไทยอพยพถอนรากถอนโคนมาจากตอนใต้ของจีน และ “สุโขทัยเป็นราชธานีแห่งแรก”

Advertisement

ครั้งล่าสุด จากโครงการระบบรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีด เทรน) ของรัฐบาลไทยร่วมกับรัฐบาลจีน โดยมีเส้นทางผ่าเมืองอโยธยาในแนวใต้เหนือ ซึ่งเท่ากับบังคับ สูญหายอโยธยาทั้งเมือง ต่อมาคณะกรรมการแห่งชาติอนุ “มรดกโลก” มีมติให้หลีกเลี่ยงการทำลายเมืองอโยธยา แต่โครงการไฮสปีด เทรน ทำคลุมเครือซ่อนเร้นไม่เปิดเผยต่อชาวอโยธยาและประชาชนไทย ทั้งนี้เพื่อฝ่าฝืนก่อสร้างไฮสปีด เทรน “ผ่าซีก” เมือง อโยธยาให้สูญหายจากโลก ดังมีรายงานข่าวจากมติชนออนไลน์ วันพฤหัสบดีที่ 27 เมษายน 2566 ดังนี้

เปิดเอกสาร ‘ด่วนที่สุด’ จากบิ๊กป้อมถึงบิ๊กตู่

แจ้งปมมอบคมนาคมเลือกเปลี่ยนเส้นทางไฮสปีด เทรน

เลี่ยงมรดกโลกสร้างอุโมงค์ลอด เมื่อปี 64

เมื่อวันที่ 27 เมษายน สืบเนื่องกรณีนักวิชาการและประชาชนกลุ่มหนึ่งคัดค้านการก่อสร้างสถานีอยุธยาของโครงการรถไฟความเร็วสูงช่วงกรุงเทพฯนครราชสีมาว่า โดยให้เหตุผลว่าจะส่งผลกระทบต่อโบราณสถานในพื้นที่เมืองอโยธยา โดยเมื่อ 22 เมษายนที่ผ่านมา นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ระบุว่า ตำแหน่งสถานีอยู่ห่างไกลจากพื้นที่ไปกว่า 2 กิโลเมตร มากกว่าที่กฎหมายกำหนด และไม่ได้สร้างผ่าเมือง เพราะสร้างบนแนวรถไฟเดิม และโครงการนี้หากสร้างเสร็จจะมีประโยชน์ต่อคนอยุธยา แต่หากไม่มีสถานีจอดที่นี่จะทำให้เสียประโยชน์ ปัจจุบันงานก่อสร้างเดินหน้าไปแล้วหลายสัญญา ตั้งเป้าจะเปิดบริการในปี 2570

มติชนออนไลน์’ ค้นคว้าเอกสาร ด่วนที่สุด เรื่องการดำเนินการก่อสร้างสถานีรถไฟความเร็วสูงสถานีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ส่งถึง พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ลงนามโดย พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม พ.. 2564

เอกสารดังกล่าว มีจำนวน 2 หน้า นอกจากนี้ยังมีเอกสารแนบเรื่อง ความเป็นมาของการดำเนินงานการก่อสร้างสถานีรถไฟความเร็วสูงสถานีอยุธยา

เนื้อหากล่าวถึงการที่กระทรวงคมนาคม ในฐานะหน่วยงานรับผิดชอบโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย และรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน พัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงสถานีอยุธยา ซึ่งที่ประชุมเมื่อ 10 มิถุนายน 2564 ซึ่งประกอบด้วย กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, กระทรวงวัฒนธรรม และกระทรวงมหาดไทยร่วมกันพิจารณา 5 แนวทางการก่อสร้างสถานี แต่ไม่สามารถหาข้อยุติได้

เอกสารดังกล่าว ยังระบุถึงการดำเนินงานที่เกี่ยวข้อง 2 ข้อ ได้แก่

1. กระทรวงการต่างประเทศ แจ้งว่าศูนย์มรดกโลก ห่วงกังวลเกี่ยวกับการก่อสร้างสถานีรถไฟความเร็วสูงอยุธยา ซึ่งอาจกระทบต่อแหล่งมรดกโลก นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา และพื้นที่ใกล้เคียง จึงขอให้ประเทศไทยในฐานะภาคี จัดทำรายการการประเมินผลกระทบต่อแหล่งมรดกโลก (Heritage Impact Assessment, HIAs) ก่อนดำเนินการและหารือกับศูนย์มรดกโลกก่อนเกิดปัญหาที่แก้ไม่ได้

2. คณะกรรมการแห่งชาติ ว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก ประชุมครั้งที่ 1/2564 เมื่อ 24 พฤษภาคม 2564 มีมติมอบหมายให้กระทรวงคมนาคม พิจารณาการก่อสร้างสถานี ในทางเลือก

แนวทางที่ 1 การก่อสร้างอุโมงค์ลอดผ่านพื้นที่มรดกโลก หรือ

แนวทางที่ 2 การเปลี่ยนเส้นทางใหม่ให้อ้อมพื้นที่มรดกโลก

โดยมอบหมายให้กรมศิลปากร หารือกรมการขนส่งทางราง และการรถไฟแห่งประเทศไทย เกี่ยวกับการดำเนินการจัดทำ HIAs

ทำคลุมเครือแบบ “อนารยประเทศ”

เอกสารประกอบการประชุมรับฟังความคิดเห็น การศึกษาผลกระทบด้านทรัพย์สินทางวัฒนธรรม (HIA) ของแหล่งมรดกโลก นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา เป็นเอกสารเล่มหนาที่เขียนและพิมพ์ตัวเล็กเพื่อให้ “ชาวบ้านไม่อ่าน” ถึงเปิดดูบ้างก็ “อ่านไม่รู้เรื่อง” โดยเจตนาทำคลุมเครือกรณีที่เป็นเอกสาร “ด่วนที่สุด” จากบิ๊กป้อมถึงบิ๊กตู่ เรื่องไฮสปีด เทรน ให้กระทรวงคมนาคมละเว้นทำลายเมืองอโยธยา พื้นที่ต่อเนื่อง “มรดกโลก” จะได้ลุยทำตามใจชอบ ถ้าใครคัดค้านก็จ้าง “ไอโอ” รุมด่าว่า “ขัดขวางความเจริญ” แต่ “ความเจริญ” ของคนกลุ่มนี้เป็นแบบ “อนารยประเทศ”

เมืองอโยธยา จ. พระนครศรีอยุธยา (บน) ตัวเมืองอโยธยา (กรอบขาว ขนาด 1,400 x 3,100 เมตร) จากภาพถ่ายทางอากาศ พ.. 2497 (ล่าง) ผังเมืองอโยธยา (ตรวจสอบและวาดลายเส้น โดย พเยาว์ เข็มนาค)

แถลงการณ์ Save อโยธยา

สนับสนุนรถไฟความเร็วสูง

แต่ไม่ควรทําลายเมืองโบราณ

ตามทีได้มีโครงการร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาก่อสร้างระบบรถไฟความเร็วสูงในประเทศไทย ซึงเริมต้นมาตังแต่ พ.. 2557 อันมีตรงกับปีแรกของการก้าวขึ้นสู่อํานาจของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และได้ใช้กฎหมาย ม. 44 ในการดําเนินการให้เกิดความร่วมมือดังกล่าวขึ้นนั้น ส่งผลให้มีเส้นทางช่วงหนึงของรถไฟความเร็วสูงทีจะสร้างทับเมืองโบราณทีสําคัญในเขตจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และกําลังจะเริมสร้างหากผ่านผลการประเมิน HIA (Heritage Impact Assessment) ซึงจะจัดขึนในวันพฤหัสบดีที 20 เมษายน พ.. 2566 ทีกําลังจะถึงนี้นั้น

พื้นที่เมืองโบราณดังกล่าวอยู่ในช่วงระยะทาง 13.3 กิโลเมตร จากสถานีบ้านโพสถานีพระแก้ว ซึงเป็นเส้นทางทีพาดผ่านพื้นที่ด้านทิศตะวันออกเลียบด้านนอกเกาะเมืองอยุธยา (ทับตามแนวทางรถไฟสายเดิม) พืนทีดังกล่าวนีเรียกว่า “อโยธยาศรีรามเทพนคร” หรือ “อโยธยา” ถือเป็นพืนทีสําคัญของกรุงศรีอยุธยาทังในทางประวัติศาสตร์โบราณคดี เพราะเก่าก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยาในปี ..1893 ดังนั้น จึงเป็นพื้น ทีทีเป็นรากฐานของการก่อกําเนิดความเป็นอยุธยา หรือความเป็นไทยในทุกวันนี

หากมีการสร้างรถไฟทับในพืนทีดังกล่าวย่อมส่งผลกระทบต่อการดําเนินการศึกษาประวัติศาสตร์ของชาติในอนาคต การก่อสร้างทีย่อมมีการขุดเจาะเสาเข็ม และตอม่อขนาดใหญ่ รวมไปถึงแรงสันสะเทือนในการสร้าง และการสันสะเทือนจากการวิงของรถไฟทุกเมือเชือวันหลังจากทีสร้างเสร็จแล้วนั ย่อมจะส่งผลกระทบต่อบรรดาโบราณวัตถุสถานทังบนดิน และใต้ดินอย่างมากมายมหาศาล

การสร้างรถไฟความเร็วสูงไปยังอยุธยาย่อมส่งเสริมทังคุณภาพชีวิตของประชาชน เศรษฐกิจในพืนทีและการท่องเทียวแน่ จึงสมควรทําเป็นอย่างยิง แต่ควรสร้างให้ห่างออกไปจากเขตเมืองเก่าดังได้เคยมีผู้เชียวชาญได้เคยเสนอมาแล้วให้สร้างตามแนวถนนซุปเปอร์ไฮเวย์ เพราะนอกจากเพือเป็นการอนุรักษ์เมืองเก่า และหลักฐานทางประวัติศาสตร์โบราณคดีต่างๆ แล้ว จุดขายสําคัญของการท่องเทียวอยุธยานัน ก็คือความเป็นเมืองเก่า และประวัติศาสตร์ของชาติ ดังนันจึงไม่ควรทีการพัฒนาเมืองในครังนี จะเป็นต้นเหตุของการทําลายตัวเมืองเก่าและทุนทางวัฒนธรรมเสียเอง

ในการนีกลุ่มSave อโยธยาจึงได้รวบรวมรายชือประชาชนทีต้องการเก็บรักษาประวัติศาสตร์ของชาติไว้ เพือเสนอให้หน่วยงานทีเกียวข้องทุกหน่วยงานทบทวนให้ย้ายเส้นทางรถไฟออกไปนอกเขตเมืองเก่าอโยธยาศรีรามเทพนคร โดยจะนํารายชือผู้เสนอให้ทบทวนโครงการฯ เสนอต่อทีประชุม HIA วันที 20 เมษายน พ.. 2566 นี

ผู้ลงนามสนับสนุน SAVE อโยธยา ถึงวันศุกร์ที่ 28 เมษายน 2566

รวมทั้งหมด 521 คน

สถานีรถไฟความเร็วสูง (ภาพจำลอง) (ตามข้อมูลในรายงาน EIA จากเอกสารประกอบการประชุมรับฟังความคิดเห็นครั้งที่ 1 วันศุกร์ที่ 10 มีนาคม พ.. 2566)

เส้นทางรถไฟความเร็วสูง และสถานีรถไฟความเร็วสูงอยุธยา ภาพจำลองจากวีดิทัศน์ที่ใช้ประกอบการนำเสนอผลงานในการประชุมรับฟังความคิดเห็นครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 20 เมษายน .. 2566 ซึ่งนำมาเผยแพร่ในเพจ HIA Historical City of Ayutthaya เมื่อวันที่ 22 เมษายน .. 2566 เวลา 10.56 . (ภาพจากเพจ HIA Historical City of Ayutthaya)

มัดมือชกชาวอยุธยา

ปารมี ปาลียะักศึกษาปี 1 คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร แสดงความเห็นในที่ประชุมโครงการการศึกษาผลกระทบด้านทรัพย์สินทางวัฒนธรรมต่อแหล่งมรดกโลก นครประวัติศาสตร์ พระนครศรีอยุธยา เมื่อวันที่ 20 เมษายน พ.. 2566 มีความโดยสรุปว่า

ท่านรองผู้ว่าฯ บอกว่า สมัยรัชกาลที่ 5 สมัยตอนในหลวงท่านมาสร้างสถานีบางปะอิน ลงรางรถไฟ สร้างสถานีอยุธยา ทำไมไม่เห็นต้องแคร์ ต้องสนใจยูเนสโกเลย

ท่านกำลังสะท้อนความคิดของภาครัฐ ว่าแนวคิดระบบรัฐราชการไทยมันยังคงค้างอยู่เมื่อยุค 100 กว่าปีก่อน….แล้ว 100 กว่าปีผ่านมา ในปัจจุบันนี้เราก็ยังจะทำเหมือนเดิมอยู่อีกหรือครับ? อยุธยาถูกทำลายไปมากแล้ว และโดยเฉพาะจากคนไทยด้วยกันเอง

ผมไม่ได้ต่อต้านรถไฟความเร็วสูงครับ ผมดีใจด้วยซ้ำที่อยุธยาของเรา ที่ประเทศไทยของเราจะมีรถไฟความเร็วสูงเชื่อมต่อไปยังต่างประเทศ เชื่อมการเดินทางให้คนไทย เชื่อมให้คนทั่วโลกมาบ้านเรา มาเที่ยวบ้านเรา

แต่ว่าคุณจะคิดแค่ว่าเอามาให้มันจบ รักษาโบราณสถาน รักษาวัดแค่ในเขต อุทยานฯ อย่างนี้จริงๆ หรือ?

ทำไมคุณถึงไม่คิดตั้งแต่แรกว่าเราน่าจะสามารถทำให้รถไฟความเร็วสูงผ่านมาอยุธยาบ้านเรา พร้อมกับการรักษามรดกภูมิปัญญาของเราไปด้วย ——-

คำว่า มรดกโลก เนี่ยนะครับ ถึงแม้จะมีหรือไม่มีนั้น มันไม่ได้ทำให้คุณค่าของอยุธยาลดลง แต่อย่างน้อยมรดกโลกมันก็เป็นความภูมิใจที่เราจะบอกลูกบอกหลานเราว่าบ้านของเรามีความหมาย มันมีประวัติศาสตร์ มันมีเรื่องราว จนแม้แต่คนที่ไม่ใช่คนไทยด้วยกันเขาได้เห็นถึงคุณค่า จึงมอบเกียรติยศนี้ไว้ให้เรา

รางวัลมรดกโลกนี้เราคนไทไม่ได้ตั้งขึ้นมากันเองนะครับ แต่เราได้รับ เพราะยูเนสโกเห็นว่าอยุธยาเป็นเมืองท่านานาชาติ อยุธยาคือบ่อเกิดประเทศไทย เป็นรากฐานให้กรุงเทพฯ ที่เป็นเมืองหลวง และกลายเป็นศูนย์กลางอารยธรรมไทยในปัจจุบัน

เห็นไหมครับ ทุกวันนี้เรามีสังคมเมืองท่านานาชาติ เรามีผู้คนอยู่ด้วยกันอย่างหลากหลาย เป็นพหุวัฒนธรรมพุทธ คริสต์ มุสลิม เราเป็นเมืองที่ยังมีชีวิต เราไม่ใช่ค่ซากเมืองที่ตาย ไม่ใช่ของตายที่พวกคุณจะส่งอะไรมาให้เราก็ได้ แล้วบอกว่า นี่ ส่วนกลางเขาวางแผนมาแล้ว มามัดมือชกเราอย่างนี้ อย่าทำลายอยุธยาไปมากกว่านี้เลยครับ

กก. ชี้ไฮสปีดถามชาวบ้านก่อน

นายทวิวงศ์ โตทวิวงศ์ ผู้สมัคร ส.. พระนครศรีอยุธยา เขต 1 พรรคก้าวไกล กล่าวว่า คนอยุธยาดีใจ อยากมีรถไฟความเร็วสูง แต่คนอยุธยามารู้เอาตอนที่มีการก่อสร้างระบบรางมาแล้ว

คนอยุธยาอยากรู้ว่ามีรถไฟความเร็วสูงแล้วจะเกิดผลกระทบอะไรในหลายเรื่อง โดยเฉพาะเรื่องของโบราณสถานที่กำลังวิตกกังวลกัน การรับรู้ของเยาวชนและคนอยุธยาน้อยมาก พอมารู้การก่อสร้างก็จะมาถึงอยุธยาแล้ว จะถึงสถานีรถไฟแล้ว มาถกเถียงกันแบบที่ชาวบ้านเข้าไม่ถึง

จริงๆ ก่อนการสร้างน่าจะมีการทำวิจัย สอบถามพูดคุยกับชาวบ้าน ทำโพล สอบถามกันมาก่อนว่าอยากให้มีหรือไม่มี พร้อมกับการให้ความรู้ความเข้าใจกับชาวอยุธยาให้มากกว่านี้ เพราะพื้นที่บริเวณที่มีการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง เข้ามาอยู่ในพื้นที่ของกลุ่มโบราณสถานอยุธยา ต่างจากพื้นที่ตามเส้นทางหรือสถานีรถไฟอื่น

(มติชน ฉบับวันจันทร์ที่ 24 เมษายน 2566 หน้า 1, 7)

รฟท. ทำลายอยุธยา

นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยถึงกรณีนักวิชาการด้านโบราณคดีออกมาค้านการก่อสร้างสถานีอยุธยาของโครงการรถไฟความเร็วสูงช่วงกรุงเทพฯนครราชสีมา จะส่งผลกระทบต่อโบราณสถานในพื้นที่เมือง อโยธยา ว่าทางวิ่งไม่มีปัญหา เพราะสร้างบนแนวรถไฟเดิม ไม่ได้สร้างผ่าเมือง และตำแหน่งสถานีอยู่ห่างจากพื้นที่ไปกว่า 2 กิโลเมตร ส่วนโครงการได้เดินหน้าไปไกลแล้วทุกขั้นตอน ทั้งการออกแบบ การจัดทำรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) และการประมูลก่อสร้าง ปัจจุบัน รฟท. อยู่ระหว่างดำเนินการผลกระทบต่อมรดกโลกทางวัฒนธรรม หรือ Heritage Impact Assessment (HIA) ต้องทำรายงานผลกระทบเพิ่มเติมเสนอต่อยูเนสโกที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศสต่อไป หลังกังวลผลกระทบต่อแหล่งมรดกโลกอยุธยา ทำให้โครงการต้องรอผลอนุมัติจากตรงนี้ และมีความล่าช้าจากแผนเดิมแล้ว 1 ปี

รศ. ดร. รุ่งโรจน์ ภิรมย์อนุกูล อาจารย์คณะมนุษยศาสตร์ ภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง กล่าวว่า ขอถามว่าผู้ว่าการ รฟท. ได้รับข้อมูลหรือไม่ว่าตำแหน่งรถไฟผ่านคือเมืองอโยธยา ตอนนี้เขาพูดกันอยู่ว่าผ่าอโยธยาแล้ว จะมาบอกว่าไม่ผ่าได้อย่างไร จะมองแค่ว่าอยุธยาคือฝั่งเกาะเมืองนั้นไม่ใช่ ฝั่งนี้คือฝั่งอโยธยา ที่สำคัญคือความเป็นเมืองนั้นไม่ใช่แค่เอาแม่น้ำคั่นแล้วแบ่งนอกเมืองในเมือง

ถ้าบอกว่าเลยจุดต้องเริ่มใหม่แล้ว ขอถามว่าก่อนหน้านั้นศึกษาอย่างไร หน่วยงานราชการรับผิดชอบด้านศิลปวัฒนธรรมอย่างกรมศิลปากรน่าจะเผยแพร่เรื่องราวเกี่ยวกับอโยธยาให้มากกว่านี้ เพราะตอนนี้สังคมยังไม่ค่อยรู้ว่าบริเวณนั้นมีเมืองด้วยหรือ

เมื่อทุกคนบอกแล้วว่านี่คือเมือง ถ้าท่านยังทำอีก ต่อไปหนังสือเรียนจะบอกว่ากรุงศรีอยุธยาถูกทำลายเพราะ รฟท. มีคลิป มีภาพ มีสื่อดิจิทัล สืบทอดต่อลูกหลานว่า รฟท. เป็นคนทำลายอยุธยา

(มติชน ฉบับวันจันทร์ที่ 24 เมษายน 2566 หน้า 1, 7)

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image