ร้อยเรียงความทรงจำ ‘100 ปี อ.ป๋วย’ ในสายตา ‘ชาญวิทย์’

วันที่ 9 มีนาคมนี้ เป็นวาระครบรอบ 100 ปีชาติกาล ป๋วย อึ๊งภากรณ์

ท่านเป็นทั้งผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย 12 ปี, สมาชิกเสรีไทย, คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) และการทำหน้าที่อธิการบดีธรรมศาสตร์ในช่วงที่ยากลำบากที่สุด คือ พ.ศ.2518-2519 ก่อนเกิดเหตุรุนแรง 6 ตุลาคม พ.ศ.2519

“ประเทศไทยทำให้ท่านอยู่ไม่ได้ คนตรงอยู่ในสังคมนี้ไม่ได้ หรือปัญหาทั้งหมดนี้ไม่ได้อยู่ที่ตัวคนที่ซื่อตรง แต่อยู่ที่สังคมไทย โดยเฉพาะสังคมชนชั้นนำของไทย”ศ.ดร.อัมมาร สยามวาลา อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยกล่าว

ในวาระนี้ องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) และคณะเศรษฐศาสตร์ มธ. ร่วมกันจัดงานแถลงข่าวเปิดตัวสารคดี “ป๋วย อึ๊งภากรณ์ : จากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน” สารคดีว่าด้วยชีวิตและความคิด มีทั้งหมด 4 ตอน ออกอากาศตลอดเดือนมีนาคม ทุกวันเสาร์เวลา 21.10-22.00 น. เริ่มวันเสาร์ที่ 5 มีนาคมนี้ทางช่องไทยพีบีเอส

Advertisement

สารคดีมุ่งเสนอชีวประวัติตลอดชีวิตของ อ.ป๋วย ทั้งมรดกทางความคิดและอุดมคติที่ทิ้งไว้ให้สังคมไทย โดยรวบรวมเหตุการณ์และรับฟังเรื่องราวในทุกช่วงชีวิต จากปากคำของจอน อึ๊งภากรณ์ – ชาญวิทย์ เกษตรศิริ – ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ – ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ – นิตยา มาพึ่งพงศ์ – ประสาร ไตรรัตน์วรกุล – พงศ์ศักดิ์ เหลืองอร่าม – พระไพศาล วิสาโล – ยงยุทธ ยุทธวงศ์ – วรากรณ์ สามโกเศศ – สรศักดิ์ งามขจรกุลกิจ – สุรพล เย็นอุรา – สุลักษณ์ ศิวรักษ์ – เสนาะ อูนากูล – อภิชาต สถิตนิรามัย – อัมมาร สยามวาลา – อรัญ ธรรมโน

สารคดีใช้ภาพเหตุการณ์จำลอง เพื่อให้ผู้ชมเข้าใจสถานการณ์ และเพิ่มอรรถรสในการรับชม คนที่ได้รับเกียรติให้บรรยายเสียง อ.ป๋วย ในสารคดีนี้คือ เสกสรรค์ ประเสริฐกุล คนเดือนตุลา

สิ่งที่จะได้รับ ใช่เพียงมรดกทางความคิด แต่เราต้องร่วมกันขบคิดว่า มรดกทางความคิดเหล่านั้นถูกท้าทายจากสภาพแวดล้อมใหม่ และโจทย์ใหม่ของสังคมไทยอย่างไร? มรดกนั้นยังเหมาะสม ใช้การได้ และ “มีน้ำยา” ในการรับมือกับปัญหาในปัจจุบันหรืออนาคตของสังคมไทยหรือไม่ อย่างไร? และเราจะสานต่อมรดกทางความคิดของ อ.ป๋วย อึ๊งภากรณ์อย่างไร?

Advertisement

วิไลภรณ์ จงกลวัฒนา ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักรายการ ด้านผลิตและจัดหารายการ บอกว่า มรดกที่ อ.ป๋วย ทิ้งไว้ให้คนรุ่นหลัง คือแนวคิดที่สำคัญ คือสันติธรรม สันติประชาธรรม แนวคิดการพัฒนาอย่างเท่าเทียมและมีส่วนร่วม ในสารคดีนอกจากนำเสนออัตชีวประวัติ ยังแทรกคำถามที่ท้าทายสังคมปัจจุบัน ให้เราได้ขบคิดต่อไป

เราต่างเรียนรู้เรื่องราวของ อ.ป๋วย ผ่านตัวหนังสือ จึงเป็นเรื่องดีที่งานเปิดตัวสารคดีนี้มีวงเสวนาเล็กๆ “ร้อยเรียงความทรงจำ 100 ปีอาจารย์ป๋วย” โดยผู้ที่ใกล้ชิดกับคนตรงชื่อ “ป๋วย อึ๊งภากรณ์”

1897752_10156639374885085_2721869250395826105_n

ชาญวิทย์ กับการเป็น ‘รองพื้น’ ให้ป๋วย อึ๊งภากรณ์

ศ.พิเศษ ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เกริ่นว่า เคยเป็น “รองพื้น” ให้ อ.ป๋วย นั่นคือรองอธิการบดีฝ่ายวิชาพื้นฐาน ที่ดูแลวิชาพื้นฐานสำหรับนักศึกษาปี 1 ทุกคน

ทั้งนี้ อ.ป๋วย ต้องชวนชาญวิทย์ ถึง 2 ครั้ง

“สมัยเรียนที่คณะรัฐศาสตร์ช่วงปี 2503-2506 ผมเป็นนักศึกษาฝ่ายบู๊และทำเชียร์ ไม่รู้จักคณะเศรษฐศาสตร์ เพราะเป็นคณะเล็กๆ ซ่อนตัวอยู่ในตึกโดม ปัจจุบันคือตึกอเนกประสงค์ หลังจากเรียนจบแล้วได้ทุนไปเรียนสหรัฐอเมริกา 7 ปี กลับมาไทยก็ปลายปี 2514 ตอนนั้นเริ่มเขียนหนังสือลงสังคมศาสตร์ปริทรรศน์ คิดว่าเป็นที่รู้จักพอสมควร กลับมาไม่นานก็เกิดเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516”

“หลังจากนั้นมีการเลือกอธิการบดีธรรมศาสตร์ คู่แข่งเข้าชิงอธิการกับ อ.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ คือ ศ.ดร.อดุล วิเชียรเจริญ ซึ่ง อ.ป๋วย มาแรงมากๆ เป็นอธิการคนแรกที่จบธรรมศาสตร์ และเป็นคนแรกที่มาจากเบื้องล่าง กระแสท่านแรงมากกระทั่งได้เป็นอธิการที่มาจากเสียงของคนส่วนใหญ่ที่เป็นประชาธิปไตย”

“1 ปีแรกของท่าน ผมสอนอารยธรรมไทย สอนเรื่องอยุธยาที่คณะศิลปศาสตร์ ท่านชวนเป็นรองอธิการครั้งแรกผมก็ปฏิเสธ เพราะอยากทำงานวิชาการ 1 ปีต่อมาท่านเรียกไป บอกว่ามีตำแหน่งรองอธิการบดีฝ่ายวิชาพื้นฐานสำหรับปี 1 ถามเสร็จท่านก็รินวิสกี้ให้ ผมขอกลับไปคิด 3 วัน ปรึกษาครอบครัว เพื่อนๆ ที่เคยปฏิเสธในครั้งแรก แต่ตอนนั้นทุกคนบอกให้รับ เพราะเป็นตำแหน่งที่ดี ได้ดูแลนักศึกษาปี 1 แล้วท่านเป็นคนคิดโครงการนักศึกษาช้างเผือก นักศึกษาเรียนดีจากชนบท เพื่อให้เกิดความเท่าเทียมทางการศึกษา ช่วงที่ทำงานกับท่าน 1 ปี เป็นอะไรที่ “มันส์” มาก ชาญวิทย์เล่าอย่างออกรส

และเสริมว่า ชอบ อ.ป๋วย เพราะท่านหนุ่มเสมอ มีความเป็นหนุ่มในตัวแม้จะอายุ 59 ย่าง 60 ปีแล้ว

ป๋วย คนธรรมดาที่ซื่อตรง

“มีความรู้สึกว่าอาจารย์ไม่เป็นเทพ เป็นคนธรรมดา เป็นมนุษย์ธรรมดา สิ่งหนึ่งที่ผมจดจำเกี่ยวกับท่าน แม้ว่าจะชอบ ‘จากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน’ แต่คิดว่าสิ่งที่ท่านมีในตัวคือ หลักสันติประชาธรรม กับความกล้าหาญทางจริยธรรม”

“ในความเป็นคนธรรมดาของท่าน ท่านเป็นคนที่มีเมตตาธรรม มีความโอบอ้อมอารีย์ แต่มีจุดยืน”

ชาญวิทย์เล่าว่า วันหนึ่งท่านชวนรองอธิการหลายคนไปกินข้าวที่บางลำภู มีหนูวิ่งผ่านไปมา คิดในใจว่าผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย 12 ปียังไม่ถือตัว “รู้สึกว่าอธิการธรรมศาสตร์เดินท่าพระจันทร์ ไม่ค่อยมีนะ ส่วนใหญ่ก็ใส่สูท ผูกไทด์ อยู่ในห้องทำงานมืดๆ คนเดียว ลงจากห้องทำงานมาก็มีรถประจำตำแหน่งรอรับ เห็นอาจารย์ป๋วยเป็นอธิการแล้วคิดว่า “ใช่” ถ้าเป็นอธิการก็อยากเป็นแบบท่าน”

สิ่งที่หล่อหลอมป๋วยให้เป็น “ป๋วย อึ๊งภากรณ์” อย่างที่เรารู้จักทุกวันนี้?

ชาญวิทย์บอกว่า เข้าใจว่านอกจากมารดา, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และยังมีปรีดี พนมยงค์ ผู้ประศาสน์การมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง ยังรวมถึง วิทยาลัยเศรษฐศาสตร์และรัฐศาสตร์แห่งลอนดอน (LSE-London School of Economics) สถาบันที่ท่านได้เข้าศึกษาที่เกิดจากชนชั้นแรงงาน เป็นพวกเฟเบียน (Fabian Society)

หากจะศึกษาชีวิตของท่านให้เห็นเต็มภาพ บั้นปลายชีวิตของท่านเป็นอีกส่วนที่ต้องศึกษาและพิจารณาให้ดี

ทีมงานสารคดี (จากซ้าย) โตมร ศุขปีชา ทีมเขียนบท, นิสิต คูณผล สำนักรายการ ส.ส.ท., รุ่งมณี เมฆโสภณ กรรมการนโยบายสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส, วิไลภรณ์ จงกลวัฒนา ผช.ผอ.สำนักรายการด้านผลิตรายการ, สุชาดา ภู่ทองคำ ผจก.ฝ่ายยุทธศาสตร์รายการ, ปกป้อง จันวิทย์ อจ.คณะเศรษฐศาสตร์ มธ.

“ท่านเดินทางออกจากไทยในวันที่ 6 ตุลาคม 2519 ช่วง 2 ปีสุดท้ายของท่าน ก่อนที่เส้นเลือดในสมองแตกและเป็นอัมพาตในเดือนตุลาคม 2520 จากนั้นท่านก็อยู่ในโลกเงียบ พูดไม่ได้เกือบ 20 ปี”

ป๋วย อึ๊งภากรณ์ เสียชีวิตในวัย 83 ปี เมื่อ 28 กรกฎาคม พ.ศ.2542 ณ กรุงลอนดอน หลังจากนั้นครอบครัวได้นำอัฐิกลับมาประเทศไทย และลอยอังคารวันที่ 28 สิงหาคม บริเวณท่าเรือสัตหีบ

6 ตุลา 2519

ชาญวิทย์เล่าว่า คืนวันที่ 5 ตุลาคม นักศึกษายึดธรรมศาสตร์แล้ว มีการประชุมกลุ่มย่อยของอธิการบดีคือ อ.ป๋วยกับรองอธิการที่ตึกโดม ช่วงเย็นๆ ก็แยกย้ายกันกลับบ้านเพราะเช้าวันที่ 6 ตุลาคม มีนัดประชุมสภามหาวิทยาลัยที่สภาการศึกษา ตรงข้ามที่ทำการ กอ.รมน.

“ผมเดินออกจากตึกโดม เป็นความทรงจำที่ต้องจำ… จำได้ว่าวงดนตรีของนักศึกษาเล่นเพลง “แสงดาวแห่งศรัทธา” จากนั้นก็ไปหาเพื่อนสนิท คือสุจิตต์ วงษ์เทศ ที่โรงพิมพ์แพร่งสรรพศาสตร์ คืนนั้นคนหนุ่มคนสาววิ่งแจกใบปลิวรูปคนถูกแขวนคอ ตอนนั้นไม่ได้ขับรถกลับบ้านซึ่งอยู่มีนบุรี ไปนอนพักที่บ้านของสุจิตต์กับปรานี วงษ์เทศ ย่านฝั่งธน ประมาณตี 5 ปรานีมาเขย่าตัว บอกว่าเขายิงกันแล้ว”

“วันนั้นขับรถข้ามสะพานปิ่นเกล้าเพื่อไปประชุมที่สภาการศึกษา มองมาทางสนามหลวง เห็นควัน มีคนยิงกัน เมื่อไปถึงที่ประชุมแล้ว ท่านประกอบ หุตะสิง ประธานการประชุมวันนั้นอ่านบางกอกโพสต์ แล้ววิจารณ์รูปแขวนคอนั้น เมื่อเปิดประชุม อ.ป๋วย บอกกับที่ประชุมว่า เมื่อเหตุการณ์บานปลายขนาดนี้ ผมต้องลาออก”

“วันนั้นไม่มีใครพูดอะไร ศ.เสน่ห์ จามริก, ศ.คุณหญิง นงเยาว์ ชัยเสรี แล้ว อ.ลิลี่ โกศัยยานนท์ ก็น้ำตาไหล”

ชาญวิทย์เล่าต่อไปว่า อ.ป๋วย บอกให้ผมเอากระเป๋ากับรถไปส่งที่บ้านย่านซอยอารีย์ และบอกกับที่บ้านว่า ป.ป๋วยจะไปต่างจังหวัดหลายวัน

“ผมเอารถนั่งไปกับคนขับ ไม่แน่ใจว่าใครอยู่บ้านเพราะภรรยาท่าน (มาร์กาเร็ต สมิธ อยู่อังกฤษ) เอากระเป๋าไปคืนแล้วนำรถไปส่งที่ธรรมศาสตร์ ส่วน อ.ป๋วย มีอาจารย์ผู้หญิง 2 คนมารับ หนึ่งในนั้นคือนิตยา มาพึ่งพงศ์ พาไปสนามบินดอนเมือง ในที่สุดท่านก็ขึ้นเครื่องบินได้”

จากแผนพัฒนา สู่หลักสันติประชาธรรม

“เคยคุยกับคนใกล้ชิดกับท่านจำนวนหนึ่ง ท่านรู้ว่าการพัฒนาไม่เป็นไปตามที่คาด ช่วงว่างทางสังคมมีมากมายมหาศาล ทำให้ท่านกลับมาเล่นบทตรงนี้ บางคนคิดว่าท่านทำผิดพลาด”

“ช่วงที่ท่านจะขึ้นมาเป็นอธิการในปี 2514 จึงนำมาซึ่งจดหมายของนายเข้ม เย็นยิ่ง ถึงนายทำนุ เกียรติก้อง เป็นการประกาศสิ่งที่เป็นความกล้าหาญทางจริยธรรมที่มักไม่ค่อยมีในชนชั้นผู้นำ โดยเฉพาะเราๆ ท่านๆ ผมคิดว่าเราไม่มี”

นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์บอกว่า สิ่งที่เราจะจดจำท่านในฐานะผู้นำทางความคิด ทางปัญญา นึกถึงสิ่งหนึ่ง

“ในยุคที่ได้ร่วมงานกับท่าน ช่วงนั้นท่านปลูกฝังสิ่งหนึ่งแต่ไม่สำเร็จคือ หลักสันติประชาธรรม คือคำว่า agree to disagree คือ เห็นต่าง แต่สามารถอยู่ร่วมกันได้ ชอบที่คุยกับจอน (บุตรชายคนโต อ.ป๋วย) เขาเล่าว่าช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 พ่อไปเป็นทหาร สมัครเข้ากองทัพอังกฤษ ส่วนแม่เป็นฝ่ายต่อต้านสงคราม เป็นผู้รักสันติไม่นิยมสงคราม นี่เป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัดว่าคิดต่างก็สามารถอยู่ร่วมกันได้”

“เหตุการณ์นองเลือดที่ธรรมศาสตร์ ทั้ง 14 ตุลาคม 2516 และ 6 ตุลาคม 2519 อ.ป๋วย บอกว่าจะมีแบบนั้นเป็นครั้งที่สาม เพราะตอนนั้นกับปัจจุบันนี้ สิ่งหนึ่งที่มีคือความแตกแยกทางความคิด

“ต้องเป็นไปได้ในที่สุด แต่แน่นอนว่าช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านที่เราจะเจอ ที่เจ็บปวดมากๆ เราจะได้เห็นอีกไม่นาน”

ชาญวิทย์ทิ้งท้ายว่า คนที่มีความฝัน ความฝันนั้นอาจไม่ประสบความสำเร็จขณะที่เขามีชีวิต แต่ความฝันของเขาถูกสืบทอด

“หากความฝันของ อ.ป๋วย ไม่ถูกสืบทอด คงไม่มีการจัดงาน 100 ปีชาตกาลให้ท่าน”

“อ.ป๋วยโชคดีที่มีคนรักท่านเยอะมาก แม้จะรักในมิติที่ต่างกันมากๆ แต่คิดว่าไม่เป็นไร”

ในวาระนี้ องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) และคณะเศรษฐศาสตร์ มธ. ร่วมกันจัดงานแถลงข่าวเปิดตัวสารคดี “ป๋วย อึ๊งภากรณ์ : จากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน” สารคดีว่าด้วยชีวิตและความคิด มีทั้งหมด 4 ตอน ออกอากาศตลอดเดือนมีนาคม ทุกวันเสาร์เวลา 21.10-22.00 น. เริ่มวันเสาร์ที่ 5 มีนาคมนี้ทางช่องไทยพีบีเอส

สารคดีมุ่งเสนอชีวประวัติตลอดชีวิตของ อ.ป๋วย ทั้งมรดกทางความคิดและอุดมคติที่ทิ้งไว้ให้สังคมไทย โดยรวบรวมเหตุการณ์และรับฟังเรื่องราวในทุกช่วงชีวิตจากปากค..ำของ จอน อึ๊งภากรณ์ - ชาญวิทย์ เกษตรศิริ - ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ - ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ - นิตยา มาพึ่งพงศ์ - ประสาร ไตรรัตน์วรกุล - พงศ์ศักดิ์ เหลืองอร่าม - พระไพศาล วิสาโล - ยงยุทธ ยุทธวงศ์ - วรากรณ์ สามโกเศศ - สรศักดิ์ งามขจรกุลกิจ - สุรพล เย็นอุรา - สุลักษณ์ ศิวรักษ์ - เสนาะอูนากูล - อภิชาต สถิตนิรามัย - อัมมาร สยามวาลา - อรัญ ธรรมโน
สารคดีมุ่งเสนอชีวประวัติตลอดชีวิตของ อ.ป๋วย ทั้งมรดกทางความคิดและอุดมคติที่ทิ้งไว้ให้สังคมไทย โดยรวบรวมเหตุการณ์และรับฟังเรื่องราวในทุกช่วงชีวิตจากปากค..ำของ จอน อึ๊งภากรณ์ – ชาญวิทย์ เกษตรศิริ – ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ – ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ – นิตยา มาพึ่งพงศ์ – ประสาร ไตรรัตน์วรกุล – พงศ์ศักดิ์ เหลืองอร่าม – พระไพศาล วิสาโล – ยงยุทธ ยุทธวงศ์ – วรากรณ์ สามโกเศศ – สรศักดิ์ งามขจรกุลกิจ – สุรพล เย็นอุรา – สุลักษณ์ ศิวรักษ์ – เสนาะอูนากูล – อภิชาต สถิตนิรามัย – อัมมาร สยามวาลา – อรัญ ธรรมโน

สารคดีใช้ภาพเหตุการณ์จำลอง เพื่อให้ผู้ชมเข้าใจสถานการณ์ และเพิ่มอรรถรสในการรับชม คนที่ได้รับเกียรติให้บรรยายเสียง อ.ป๋วย ในสารคดีนี้คือ เสกสรรค์ ประเสริฐกุล คนเดือนตุลา

สิ่งที่จะได้รับ ใช่เพียงมรดกทางความคิด แต่เราต้องร่วมกันขบคิดว่า มรดกทางความคิดเหล่านั้นถูกท้าทายจากสภาพแวดล้อมใหม่ และโจทย์ใหม่ของสังคมไทยอย่างไร? มรดกนั้นยังเหมาะสม ใช้การได้ และ”มีน้ำยา” ในการรับมือกับปัญหาในปัจจุบันหรืออนาคตของสังคมไทยหรือไม่ อย่างไร? และเราจะสานต่อมรดกทางความคิดของ อ.ป๋วย อึ๊งภากรณ์อย่างไร?

วิไลภรณ์ จงกลวัฒนา ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักรายการ ด้านผลิตและจัดหารายการ บอกว่า มรดกที่ อ.ป๋วยทิ้งไว้ให้คนรุ่นหลังคือแนวคิดที่สำคัญ คือสันติธรรม สันติประชาธรรม แนวคิดการพัฒนาอย่างเท่าเทียมและมีส่วนร่วม ในสารคดีนอกจากนำเสนออัตชีวประวัติ ยังแทรกคำถามที่ท้าทายสังคมปัจจุบันให้เราได้ขบคิดต่อไป

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image