ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางวัสดุยางและพอลิเมอร์เพื่อการเกษตรและอุตสาหกรรม ภาควิชาวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มก. จัดการประชุมวิชาการระดับนานาชาติด้านวัสดุศาสตร์ “ICMARI 2021”

คุณนิสากร จึงเจริญธรรม ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และอดีตอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ ให้เกียรติเป็นประธานเปิดงานประชุมวิชาการระดับนานาชาติ International Conference on Materials Research and Innovation ครั้งที่ 3 (ICMARI 2021) ณ โรงแรมชาเทรียม ริเวอร์ไซด์ กรุงเทพฯ นอกจากนี้ ยังได้รับเกียรติจากผู้บริหารของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้แก่ รองศาสตราจารย์ ดร.สุตเขตต์ นาคะเสถียร รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและสร้างสรรค์, รองศาสตราจารย์
ดร.อภิสิฏฐ์ ศงสะเสน คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปารเมศ กําแหงฤทธิรงค์ คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ เข้าร่วมพิธีเปิดงานประชุมวิชาการระดับนานาชาติในครั้งนี้ด้วย ซึ่งงานประชุมวิชาการระดับนานาชาตินี้จัดโดยศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางวัสดุยางและพอลิเมอร์เพื่อการเกษตรและอุตสาหกรรม ภาควิชาวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ระหว่างวันที่ 15-17 ธันวาคม 2564 โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วีรศักดิ์ สมิทธิพงศ์ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางฯ และหัวหน้าภาควิชาวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และภาคีเครือข่ายประกอบด้วยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.), สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

Advertisement

งานประชุมวิชาการระดับนานาชาติ ICMARI 2021 นี้ ถูกจัดขึ้นเป็นปีที่สาม โดยอยู่ภายใต้มาตรการการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนานักวิจัยและเผยแพร่องค์ความรู้สมัยใหม่ทางวิทยาศาสตร์ด้านการวิจัยและนวัตกรรมทางด้านวัสดุศาสตร์ให้แก่ นิสิตนักศึกษา คณาจารย์ บริษัท องค์กร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงเพื่อสร้างเครือข่ายงานวิจัยและนวัตกรรมด้านวัสดุศาสตร์ ซึ่งเป็นการส่งเสริมความเข้มแข็งและความร่วมมือระหว่างนักวิจัยทั้งในและต่างประเทศอีกด้วย ซึ่งภายในงานมีการจัดงานประชุมนำเสนอผลงานแบบปากเปล่าใน 3 หัวเรื่อง ได้แก่ Rubbers and Polymeric Materials, Bio- and Circular-materials และ Special Advanced Materials ในวันที่ 15-16 ธันวาคม 2564 ณ โรงแรมชาเทรียม ริเวอร์ไซด์ กรุงเทพฯ หรือนำเสนอในรูปแบบออนไลน์ รวมถึงการนำเสนอแบบ Series seminar ในหัวเรื่อง UN Sustainable Development Goals (SDGs) in the field of Materials Research and Innovation ในรูปแบบออนไลน์ผ่านโปรแกรม Zoom ในวันที่ 17 ธันวาคม 2564 โดยได้รับการสนับสนุนจากสปอนเซอร์ ได้แก่ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ, สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, ศูนย์วิทยาการขั้นสูงด้านทรัพยากรธรรมชาติเขตร้อน ภายใต้โครงการ Kasetsart University Reinventing University Program 2021, สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน), บริษัท เมทเล่อร์-โทเลโด (ประเทศไทย) จำกัด, บริษัท ซายน์ สเปค จำกัด, บริษัท พาราไซแอนติฟิค จำกัด, บริษัท ฮอริบา (ประเทศไทย) จำกัด, บริษัท เอสซีเอส อินสทรูเมนท์ จำกัด, บริษัท ซีจี เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด, บริษัท เจริญทัศน์ จำกัด, บริษัท เอสทีเจ อินเตอร์เทรด จำกัด, บริษัท เซิร์นเทค จำกัด และบริษัท เทรเชอร์ โปรดักส์ จำกัด

โดยการประชุมวิชาการระดับนานาชาติครั้งนี้ได้รับความสนใจและมีผู้เข้าร่วมงานประมาณ 100 คน ซึ่งมีทั้งผู้ที่มาร่วมในงานและผู้ร่วมงานในรูปแบบออนไลน์จากหลายภาคส่วน สำหรับ Plenary speakers ประกอบด้วย ดร.วิไลพร เจตนจันทร์ จากเอสซีจี (ประเทศไทย), Prof. Herbert Waite จาก University of California at Santa Barbara (สหรัฐอเมริกา), Prof. Sadhan C. Jana จาก University of Akron (สหรัฐอเมริกา), ศาสตราจารย์ ดร.สุภา หารหนองบัว ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (ประเทศไทย) และ Assoc. Prof. Norio Yoshida จาก Kyushu University (ญี่ปุ่น) อีกทั้งยังได้รับความสนใจจากนิสิตนักศึกษา อาจารย์ นักวิจัย และผู้ประกอบการจากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนทั้งในและต่างประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส โปแลนด์ ฟินแลนด์ ญี่ปุ่น สิงคโปร์ และไทย นอกจากนี้ ภายในงานยังมีการนำเสนอและจัดแข่งขันผลงานวิจัยในรูปแบบโปสเตอร์ใน 2 ประเภท คือ Materials Research และ Materials Innovation โดยมีรายนามผู้ชนะการแข่งขัน ได้แก่

  1. การนำเสนอผลงานวิจัยแบบโปสเตอร์ประเภท Materials Research

– รางวัลชนะเลิศอันดับหนึ่ง ได้แก่ นางสาวณิชาภัทร จันทร์ตรี มหาวิทยาลัยมหิดล

Advertisement

– รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่หนึ่ง ได้แก่ นางสาวอรนุช สมสีมี มหาวิทยาลัยขอนแก่น

– รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่สอง ได้แก่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรนุช สมส่งกุล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

  1. การนำเสนอผลงานวิจัยแบบโปสเตอร์ประเภท Materials Innovation

– รางวัลชนะเลิศอันดับหนึ่ง ได้แก่ นางสาวพิชญ์สินี ลิ้มเทียมเจริญ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

– รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่หนึ่ง ได้แก่ นางสาวมนฑิชา จันปัญญา สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

– รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่สอง ได้แก่ นางสาวนพวรรณ ตันบริภัณฑ์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

จากการจัดประชุมวิชาการระดับนานาชาติในครั้งนี้ ก่อให้เกิดการสร้างเครือข่ายวิจัยและแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับภาคอุตสาหกรรม ภาคการศึกษา และนักวิจัย ทั้งในและต่างประเทศ ทำให้เกิดผลกระทบ (Impact) ต่อวงการวิชาการเป็นอย่างสูงโดยเฉพาะทางการวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาการและเทคโนโลยีของวัสดุศาสตร์ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อภาคการศึกษาและภาคอุตสาหกรรมของภูมิภาคนี้และในที่สุดก็จะส่งผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจร่วมกันต่อไป ถือได้ว่าเป็นการสนับสนุนนโยบายของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยเฉพาะนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ของรัฐบาลในการพัฒนาประเทศต่อไปในอีก 20 ปีข้างหน้าอีกด้วย

 

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image