บงกชสะคราญ..สานใจภักดิ์

บงกชสะคราญ..สานใจภักดิ์ จัดโดย สมาคมพืชสวนแห่งประเทศไทย สถาบันบัวราชมงคลตะวันออก เมืองโบราณ วันที่ 1 พฤษภาคม ถึง 31 ตุลาคม 2567 ณ เมืองโบราณ อําเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ

ความเป็นมาและความสําคัญ ของบัว

บงกชเป็นคํากลางเปรียบได้กับคําว่า บัวในภาษาไทยนิยมใช้เรียกกันระหว่างบัวหลวง (lotus) และบัวสาย (waterlilly) ทั้งบัวหลวงและบัวสายจัดเป็นพืชโบราณ เป็นพืชดอกชนิดแรกๆ ของโลก จึงมีการแพร่กระจายอยู่ ทั่วทุกมุมโลก ต่อมาเมื่อมีสภาพแวดล้อมของโลกเปลี่ยนแปลงไป บัวสายจึงได้มีการปรับตัวและเกิดวิวัฒนาการ จนมีความแตกต่างกันออกไปอย่างมากมายตามลักษณะภูมิอากาศ เป็นที่น่าสังเกตว่าดอกบัวถูกเลือกและยกย่องว่า เป็นพืชมงคลควรค่าแห่งการบูชา ในศาสนาและลัทธิ เช่น อียิปต์โบราณ กรีก ฮินดูและพุทธศาสนา

Advertisement

ประวัติการปลูกบัวเป็นไม้ประดับ ในประเทศเริ่มขึ้นเมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสเกาะชวาในปี พ.ศ. 2444 พระวิมาดาเธอกรมพระสุทธาสินีนาถ ที่โดยเสด็จได้นําพันธ์ุบัวสายที่มีดอก ขนาดใหญ่สีม่วงครามกลับมาด้วย บัวพันธุ์นี้ต่อมาได้รับขนานนามว่า บัวสุทธาสิโนบล ได้รับความนิยมปลูกเลี้ยง เป็นบัวประดับตั้งแต่นั้นมา จากนั้นได้มีการนําบัวประดับทั้งเขตร้อน และเขตหนาวจากต่างประเทศเข้ามาปลูก เพิ่มขึ้น ทําให้เกิดความนิยมปลูกเป็นไม้ประดับอย่างแพร่หลาย บัวเป็นพืชที่อยู่ในความสนพระทัยจากพระบรมวงศานุวงศ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สมเด็จพระพันปีหลวง ที่ทรงเข้าพระทัยในพืชนี้อย่างลึกซึ่ง และพระราชทานพระวินิจฉัยเรื่องบัว อยู่เนื่องๆ ในเรื่องของการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์เช่นเดียวกับ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทำให้วงการบัวของประเทศไทย ได้มีการพัฒนาอย่างมีจุดหมาย

ในปี พ.ศ. 2547 บัวสายลูกผสมของไทยนาม มังคลอุบล ได้รับรางวัลชนะเลิศประเภทบัวสายเขตหนาว ในการประกวดบัวนานาชาติ จัดโดย The Internet Waterlily and Water Gardening Society (IWGS) ทำให้ ประเทศไทยเป็นท่ีรู้จักและยอมรับมากขึ้นในระดับสากล ซึ่งต่อมาทาง IWGS ได้มาร่วมจัดสัมมนาวิชาการบัว ที่สวนหลวง ร.9 เพื่อเฉลิมฉลองในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 มีพระชนมายุครบ 80 พรรษา ในปีพ.ศ. 2550 ซึ่งนับว่าเป็นครั้งแรกที่ IWGS ได้มีการจัดสัมมนาบัวภายนอกทวีปอเมริกาเหนือและสหภาพยุโรป ในการประชุมครั้งนี้ได้มีการจัดประกวดบัวลูกผสม โดยนักปรับปรุงบัวของไทยเป็นครั้งแรก และได้มีการชิงถ้วย พระราชทานของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ หลังจากนั้นมานักปรับปรุงพันธ์ุบัวของไทย ก็ได้มีการ ตื่นตัวและพัฒนาพันธุ์บัวประดับ ร่วมส่งบัวเข้าประกวดในระดับนานาชาติ และได้รับรางวัลชนะเลิศมาอย่างต่อเนื่อง จนทําให้ประเทศไทยได้รับการยอมรับว่าเป็นประเทศที่ก้าวหน้ามากที่สุดของโลก ในการพัฒนาพันธุ์บัว

Advertisement

โดยที่ในปี 2567 นี้ เป็นปีมหามงคลแก่ปวงประชาชนชาวไทย เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวันที่ 28 กรกฎาคม 2567 และโดยที่ ดอกบัว นั้น จัดเป็นดอกไม้ที่มีความใกล้ชิดกับคนไทย ที่นับถือศาสนาพุทธมาอย่างยาวนานในวัฒนธรรมในการให้ความเคารพ ระลึกในพุทธบูชา คนไทยจึงมีพิธีการนําดอกบัวมาเป็นดอกไม้อันแสดงถึงความเป็นมงคลแก่จิตใจ ให้เกิดความ ศรัทธาและบูชาในหลายประเพณีอันดีของปวงชนชาวไทยตลอดมา เช่น การทําบุญตักบาตร การกราบไหว้บูชาพระ พิธีอุปสมบท และประเพณีลอยกระทง เป็นต้น ดังนั้นในวโรกาสมหามงคลในปี 2567 นี้ ทางสมาคมพืชสวน แห่งประเทศไทย สถาบันบัวราชมงคลตะวันออก และเมืองโบราณ จึงน้อมระลึกในพระมหากรุณาธิคุณ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว อีกทั้งพระบรมวงศานุวงศ์ ทุกพระองค์ โดยจะจัดประกวดบัวสวยงามของไทยขึ้น ณ บริเวณ เรือนทับแก้ว เมืองโบราณ ตําบล บางปูใหม่ อําเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ ในช่วงวันที่ 1 พฤษภาคม ถึง 31 ตุลาคม 2567 โดยในช่วงเวลา ดังกล่าว จะมีการจัดกิจกรรมพระราชกรณียกิจ และพระกรณียกิจของพระบรมวงศานุวงศ์ในวันเฉลิม พระชนมพรรษาของทุกพระองค์ อย่างต่อเนื่องในระหว่างดําเนินกิจกรรมแก่พสกนิกรชาวไทย และชาวต่างประเทศ ที่เข้าชมงานได้ระลึกและเทิดทูนในพระมหากรุณาธิคุณ

กฎและเกณฑ์และวิธีการส่งบัวเข้าประกวด
ประเภทของบัวที่จัดประกวด

  1. บัวสายเขตร้อนบานกลางวัน ประเภทดอกสมบูรณ์เพศ
  2. บัวสายเขตร้อนบานกลางวัน ประเภทดอกไม่สมบูรณ์เพศ
  3. บัวสายเขตหนาวบานกลางวัน (บัวฝรั่ง)
  4. บัวสายเขตหนาวบานกลางวันลูกผสมข้ามสกุลย่อย
  5. บัวยักษ์ออสเตรเลีย
  6. บัวยักษ์ออสเตรเลียและลูกผสมข้ามสกุลย่อย
  7. บัวสายเขตร้อนบานกลางคืน

บัวที่ส่งเข้าประกวดจะต้องเป็นบัวลูกผสม โดยคนไทยซึ่งอาจยังไม่เคยผ่านการประกวดหรือไม่เคยได้รับ รางวัลในการประกวดมาก่อน และยังไม่มีการเผยแพร่ทางการค้าเกิน 1 ปี นับวันส่งเข้าประกวด หากเป็นบัวประดับ ลูกผสมจากต่างประเทศจะต้องได้รับการยินยอมจากผู้ผสม

การส่งเข้าประกวด
ผู้ที่มีความประสงค์ที่จะส่งบัวเข้าประกวด สามารถจัดส่งต้นบัวเข้าประกวดได้คนละ 2 ประเภท โดยต้องมี การลงทะเบียนล่วงหน้าภายในวันที่ 15 เมษายน 2567 และเมื่อได้รับการตอบรับการลงทะเบียน จะต้องส่งต้นพันธุ์ ให้ผู้จัดการประกวดภายในวันที่ 30 เมษายน 2567 ทั้งทางไปรษณีย์หรือนําส่งด้วยต้นเอง ผู้แข่งขันสามารถส่งต้นบัว ได้พันธ์ุละ 2 ต้น โดยกรรมการจะพิจารณาจากต้นที่สมบูรณ์ที่สุด ในการตัดสิน

การปลูกและดูแลรักษา
บัวประดับทุกต้นที่เข้าแข่งขันจะได้รับการปลูก และดูรักษาจากกรรมการกลาง และบันทึกพฤติกรรม เป็นเวลา 6 เดือน และมีการถ่ายภาพดอกในหลายมุม ลักษณะใบ ทรงพุ่ม จำนวนดอก ตลอดระยะการประกวด จุดเด่นและข้อจํากัด เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินของกรรมการ

สถานที่จัดการประกวด
เมืองโบราณสมุทรปราการ

หลักเกณฑ์การให้คะแนนเป็นไปตามระบบสากลของ The IWGS
การให้คะแนนบัวประดับที่เข้าแข่งขันทุกต้นจะพิจารณาจากดอก มี 0 – 50 คะแนน จากรูปทรง สีและ ความดกใบ มี 0 – 15 คะแนน จากรูปร่างและความมีเสน่ห์ ความประทับใจทั่วไป มี 0 – 15 คะแนน ลักษณะ เด่นเฉพาะ มี 0 – 20 คะแนน จากลักษณะเด่นที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนในบัวประดับ

กรรมการตัดสิน

เป็นผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้มีประสบการณ์ ด้านบัวประดับอย่างยาวนานเป็นที่รู้จักทั่วไป และไม่มีส่วนได้ส่วน เสียกับการประกวดในครั้งนี้อย่างน้อย 5 คน

วัตถุประสงค์

เนื่องด้วยในปี 2567 นี้ เป็นปีมหามงคล เหล่าปวงชนชาวไทย ด้วยพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 ทรงเจริญพระชนมพรรษา 72 พรรษา และด้วยระยะเวลาในการประกวดอยู่ระหว่างวันที่ 1 พฤษภาคม ถึง 31 ตุลาคม 2567 มีวโรกาสมิ่งมงคลของปวงชนชาวไทย ดังนี้

5 พฤษภาคม 2567 พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ ทรงเฉลิมพระชนมพรรษา 40 พรรษา
3 มิถุนายน 2567 สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี ทรงเฉลิมพระชนมพรรษา 46 พรรษา
4 กรกฎาคม 2567 สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒนวรขัตติยราชนารี ทรงเฉลิมพระชนมพรรษา 67 พรรษา
13 กรกฎาคม 2567 พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ ทรงเฉลิมพระชนมพรรษา 67 พรรษา
28 กรกฎาคม 2567 พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเฉลิมพระชนมพรรษา 72 พรรษา
12 สิงหาคม 2567  สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงเฉลิมพระชนมพรรษา 92 พรรษา
8 ตุลาคม 2567 พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์ ทรงเฉลิมพระชนมพรรษา 42 พรรษา

จากการที่ ดอกบัว จัดเป็นดอกไม้มงคลที่คนไทยได้สืบสานมาช้านานนับแต่สมัยสุโขทัย โดยถือเป็นดอกไม้ แห่งพุทธบูชา และ ดอกไม้ที่เป็นมงคลในการคารวะผู้ใหญ่ที่น่านับถือ โดยจัดเป็นดอกไม้ที่ใช้ในการพิธีลาบวช และ ในพิธีอุปสมบทในบวรพระพุทธศาสนา ดังน้ัน ในการดําเนินการประกวดบัวในกิจกรรม บงกชสะคราญ..สานใจภักดิ์ จึงกําหนดให้มีการจัดซุ้มเพื่อแสดงถึงความจงรักภักดี แก่พระราชวงศ์ในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษาของทุกพระองค์ ในระหว่างการจัดกิจกรรมในช่วงเวลามหามงคลวันเฉลิมพระชนมพรรษา ของทุกพระองค์ฯ เพื่อสิริมงคลแก่ ผู้ดําเนินการและผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรม ตลอดจนผู้สนใจที่เข้าร่วมชมกิจกรรมในโอกาสนี้

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

  1. สร้างมูลค่า และอนุรักษ์สายพันธุ์บัว เพื่อโอกาสทางเศรษฐกิจของประเทศไทย
  2. เผยแพร่พระราชกรณียกิจ และเปิดโอกาสให้ประชาชนคนไทยได้ร่วมถวายพระพรแด่ พระบาทสมเด็จ พระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระชนมพรรษา 72 พรรษา และพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ ที่เฉลิมพระชนมพรรษาในช่วงดําเนินกิจกรรม
  3. เผยแพร่ชื่อเสียงของดอกบัวสวยงาม ที่ประเทศไทยมีความสนใจ และสรรสร้างโดยคนไทยมาอย่าง ยาวนาน จนปรากฏพระนามพันธุ์บัว “King of Siam” และ “Queen of Siam” ที่รู้จักและชื่นชมของคนทั่วโลก

รูปแบบการนําเสนอ

การรับสมัครผู้ส่งหัวพันธุ์บัวที่เข้าประกวด ทั้ง 7 ประเภท จะเริ่มรับสมัครตั้งแต่ วันที่ 1 เมษายน 2567 โดยหัวพันธุ์บัวดังกล่าวต้องจัดส่งให้คณะกรรมการดําเนินการ ในวันที่ 30 เมษายน 2567 เพื่อจะให้กรรมการ ดําเนินการปลูกลงในอ่างนํ้ามาตรฐานต่อไป ข้อมูลและการให้คะแนนจะเร่ิมดําเนินการหลังจากท่ีหัวพันธ์ุบัว เหล่านั้นเจริญเติบโตงอกงาม และพัฒนาจากใบสู่ดอก โดยกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิดังที่กล่าวมาแล้ว ในส่วนของ หลักการและเหตุผล โดยการให้คะแนนจะสิ้นสุดในวันที่ 31 ตุลาคม 2567

นอกจากในการดําเนินการประกวดบัวแล้ว ทางคณะกรรมการยังจะดําเนินการจัดซุ้มเทิดพระเกียรติแด่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชการที่ 10 และพระบรมวงศานุวงศ์ ในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาของ ทุกพระองค์ ในบริเวณหน้าลานประกวดตามโอกาสต่างๆ อย่างเหมาะสมอีกด้วย
การมอบถ้วยรางวัลและประกาศผลการประกวดบัวทุกประเภท จะดําเนินการจัดในวันที่ 15 พฤศจิกายน 2567 ซึ่งเป็นวันประเพณี “ลอยกระทง” ของไทย ณ เมืองโบราณ จังหวัดสมุทรปราการ ต่อไป

หน่วยงานที่รับผิดชอบ
สมาคมพืชสวนแห่งประเทศไทย สถาบันบัวราชมงคลตะวันออก เมืองโบราณ จังหวัดสมุทรปราการ

สถานที่ และ ระยะเวลาดําเนินการ
การดําเนินกิจกรรม “บงกชสะคราญ..สานใจภักดิ์” จะจัดท่ี เมืองโบราณ พิพิธภัณฑ์เอกชนกลางแจ้ง ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ที่จังหวัดสมุทรปราการ ประเทศไทย โดยจะเริ่มต้นกิจกรรมตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม ถึง 31 ตุลาคม 2567 และในวันท่ี 15 พฤศจิกายน 256 (วันประเพณีลอยกระทง ปี 2567) ซึ่งเป็นวันประกอบพิธีมอบ ถ้วยรางวัลพระราชทาน แก่ผู้ชนะเลิศการประกวดรางวัล

กรรมการจะพิจารณาตัดสินการประกวดบัว ทั้ง 7 ประเภท 3 ลําดับ ดังนี้

  1. รางวัลชนะเลิศ ได้รับถ้วยประทาน พร้อมเงินรางวัล
  2.  รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้รับเงินรางวัล พร้อมใบประกาศเกียรติคุณ
  3.  รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้รับเงินรางวัล พร้อมใบประกาศเกียรติคุณ
  4.  รางวัลชมเชย ได้รับเงินรางวัล พร้อมใบประกาศเกียรติคุณ

 

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image