‘เหยี่ยวไฟ’ วอนคนหาของป่าหยุดจุดไฟเขาหลวง จนท.มีจำกัดดูแลไม่ทั่วถึง

 เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์  เวลา 09.00 น. ที่จังหวัดอุทัยธานี สถานการณ์ไฟป่าในพื้นที่วนอุทยานเขาหลวง ต.โคกหม้อ อ.ทัพทัน จ.อุทัยธานี ที่ถูกไฟป่าจากฝีมือคน ลุกไหม้ทำลายต้นไม้ไปแล้วกว่า 300 ไร่ ตั้งแต่วันที่ 30 มกราคมที่ผ่านมา จนถึงปัจจุบัน ยังคงต้องเฝ้าระวังกันต่อเนื่องเพราะยังคงมีกลุ่มควันไฟกระจายจุดลุกไหม้อยู่อย่างต่อเนื่อง ถึงแม้ว่าเจ้าหน้าที่ไฟป่าจะเข้าควบคุมดับไฟกันอย่างไม่ขาดก็ตาม แต่ไฟป่าที่เกิดขึ้นจากการจุดไฟของชาวบ้านที่หาของป่าและไก่ป่านั้น เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ไฟป่าที่วนอุทยานเขาหลวงไม่ยอมสงบลง ทั้งๆ ที่ผ่านมานั้นพื้นที่เขาหลวงแห่งนี้ไม่เคยมีเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้น คาดเพราะการเกิดภัยแล้งข้ามปีและยังคงทวีความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง ทำให้ชาวบ้านต้องละทิ้งที่ทำกิน ออกหารับจ้างรายวัน หรือเข้าหาของป่าเพื่อยังชีพและสร้างรายได้เลี้ยงตนเองและครอบครัวเพื่อการอยู่รอดดังกล่าว ซึ่งไม่ได้มีแค่พื้นที่เขาหลวงเพียงพื้นที่เดียวเท่านั้น พื้นที่เขาในหลายๆ พื้นที่มักจะถูกชาวบ้านเข้าหาของป่าและไก่ป่าในช่วงแล้งนี้เป็นประจำ แต่ด้วยที่ความชำนาญของชาวบ้านแต่ละคน และความอุดมสมบูรณ์ของป่าในแต่ละพื้นที่นั้นแตกต่างกัน จึงทำให้พื้นที่อื่นยังไม่มีการเกิดไฟป่าขึ้น 

นายเชษฐกิตติ์ ฉันทรัตนาคินทร์ เจ้าพนักงานป่าไม้ชำนาญงาน ซึ่งเป็นหัวหน้าหน่วยปฏิบัติการควบคุมไฟป่าของหน่วยป้องกันรักษาป่าที่ นว. 3 (วังร่มเกล้า) ของกรมป่าไม้ หรือเรียกว่า เหยี่ยวไฟซึ่งเป็นหน่วยปฏิบัติการควบคุมไฟป่าที่ใกล้ที่สุดของวนอุทยานเขาหลวง เปิดเผยว่า ตั้งแต่ที่มีการเกิดไฟป่าในพื้นที่วนอุทยานเขาหลวงครั้งแรกนั้น ได้เผาผลาญพื้นที่วนอุทยานเขาหลวงไปแล้วกว่า 300 ไร่ โชคดีที่ไม่มีบ้านเรือนประชาชนได้รับความเสียหาย และจากนั้นก็มีพื้นที่เกิดไฟป่าขึ้นอีก 3 จุด พื้นที่ป่าถูกทำลายไปอีก 40 ไร่ ซึ่งเจ้าหน้าที่ทุกคนได้ทำงานอย่างเต็มความสามารถ แต่ก็ไม่สามารถสู้ฝีมือมนุษย์ที่เกิดจากความเห็นแก่เพียงประโยชน์ส่วนน้อยโดยที่ไม่คำนึงถึงผลเสียอันมหาศาลที่ตามมา ซึ่งการจุดไฟในพื้นที่ป่านั้น ชาวบ้านหวังเพียงเพื่อที่จะล่าสัตว์ป่า อย่างเช่นไก่ป่าได้สะดวกขึ้น ทำให้เวลาเดินแล้วไม่มีเสียงดัง ง่ายต่อการจับไก่ป่า และจุดเพื่อให้ผักเหลียงขึ้น เพื่อเก็บไปขายในราคาเพียงกำละ 5-10 บาท ซึ่งประโยชน์ที่ได้มันน้อยมาก เทียบไม่ได้กับการที่เราต้องมาเสียทรัพยากรป่าไม้ไปหลายร้อยไร่ อีกทั้งยังเสียระบบนิเวศและทำให้เกิดหมอกควันมลพิษทางอากาศอีกด้วย ซึ่งที่ผ่านมานั้นได้ทำแนวกันไฟในพื้นที่ราบ ซึ่งจะสามารถป้องกันไฟจากชาวบ้านที่จุดเผาในแปลงไร่นา แล้วลามขึ้นไปบนเขาได้เท่านั้น แต่แนวกันไฟ ไม่สามารถที่จะกันฝีมือมนุษย์ที่เดินเท้าขึ้นไปจุดบนภูเขาสูงชันได้

201602031155162-20140425161738

อีกทั้งยังยากต่อการขึ้นไปดับ เนื่องจากต้องเดินเท้าขึ้นไปพร้อมด้วยอุปกรณ์ดับไฟ ซึ่งใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 2-3 ชั่วโมง จึงจะสามารถขึ้นไปดับไฟได้ แต่เนื่องจากช่วงนี้เป็นฤดูแล้ง จึงมีเศษเชื้อเพลิงที่ติดไฟแล้วได้ปลิวไปติดในจุด อื่นๆ ที่ใกล้เคียงได้ง่ายและรวดเร็วมาก ทำให้ไฟลุกลามขยายวงกว้างประกอบกับเศษใบไม้แห้งนั้นยังเป็นเชื้อเพลิงไฟอย่างดี ทุกวันนี้เจ้าหน้าที่เหยี่ยวไปยังไม่เคยได้หยุดพัก ตลอดระยะเวลา 4 วันที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ของหน่วยปฏิบัติการควบคุมไฟป่าของหน่วยป้องกันรักษาป่าที่ นว. 3 (วังร่มเกล้า) มีแค่เพียง 8 นาย เท่านั้น จึงทำให้การเข้ายับยั้งไฟที่ลุกไหม้นั้นช้า ซึ่งเจ้าหน้าที่ทุกนายนั้นเหนื่อยมาก เนื่องจากพื้นที่เขาหลวงนั้นกว้าง กำลังผู้ดูแลน้อย จึงทำให้เกิดการสูญเสียพื้นที่ป่าไปมากอย่างที่เห็น ซึ่งที่จริงแล้วพื้นที่รับผิดชอบที่หน่วยปฏิบัติการควบคุมไฟป่าของหน่วยป้องกันรักษาป่าที่ นว. 3 (วังร่มเกล้า) มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบพื้นที่เขาหลวงแปลงที่ 1 แต่เหตุการณ์เกิดไฟไหม้ป่าเขาหลวงในครั้งนี้นั้นไหม้แปลงที่ 2 ซึ่งเป็นฝั่งของ จ.อุทัยธานี แต่เมื่อหน่วยรับผิดชอบหลักยังไม่มีการเข้ามาช่วยรับผิดชอบดูแล ทางเราจึงต้องคอยดูแลเฝ้าระวังกันต่อไปเพราะหน่วยเรานั้นใกล้กับพื้นที่เขาหลวงที่สุด อยากขอให้ประชาชนที่เข้าไปหาของป่าหยุดการกระทำดังกล่าว เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมที่มีอยู่ ควรใช้วิธีการหาของป่าด้วยวิธีธรรมชาติ เพื่อให้ระบบนิเวศยังคงสมบูรณ์ ให้เราทุกคนได้ใช้พึงพิงต่อไปอีกนานไม่ใช่แค่เพียงครั้งเดียว  เพราะป่าไม่ได้เป็นสมบัติของผู้ใดผู้หนึ่ง แต่เป็นสมบัติของคนเราทุกคนที่ต้องช่วยกันดูแลรักษา ฟื้นฟู ดูแลและรับผิดชอบ นายเชษฐกิตติ์ หัวหน้าหน่วยปฏิบัติการควบคุมไฟป่าของหน่วยป้องกันรักษาป่าที่ นว. 3 (วังร่มเกล้า) กล่าว

Advertisement

โดยป่าเขาหลวงนั้นได้รับอนุมัติจากกรมป่าไม้ให้จัดตั้งเป็นวนอุทยานเขาหลวง เมื่อวันที่ 27กุมภาพันธ์ 2539 ครอบคลุมพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าเขาหลวง แปลง 1 ท้องที่จังหวัดนครสวรรค์และป่าสงวนแห่งชาติป่าเขาหลวง แปลง 2 ท้องที่จังหวัดอุทัยธานีมีเนื้อที่ตามแนวเขตป่าอนุรักษ์ในเขตป่าสงวนแห่งชาติที่ใช้ดำเนินการจัดตั้งวนอุทยานรวม 2 แปลงติดต่อกัน รวมทั้งสิ้น 59,375 ไร่ หรือ 95 ตารางกิโลเมตรวนอุทยานเขาหลวง มีสภาพพื้นที่เป็นภูเขาสูงชัน ตั้งอยู่โดดเดี่ยวบนพื้นที่ราบ มียอดเขาสูงสุดคือ ยอดเขาหลวง สูงเท่ากับ 772เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารหล่อเลี้ยงชุมชนที่อาศัยอยู่โดยรอบมาตั้งแต่อดีต มีทรัพยากรป่าไม้ที่มีคุณค่า ทั้งสภาพป่าดงดิบ ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรังและมีพืชสมุนไพรที่มีค่า และหายากจำนวนมาก เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยที่สำคัญของสัตว์ป่านานาชนิด นอกจากนี้ยังมีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ ได้แก่ ธรรมชาติบนยอดเขาหลวง จุดชมวิวบนสันเขา/หน้าผา ถ้ำ ฯลฯ

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image