เอกสารหอ จ.ม.เหตุฯ ไขปริศนา ใครคือต้นแบบปั้น ‘ย่าโม’ ? เผยค่าจ้างวันละ 1 บาท

ประติมากรรมต้นแบบ อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี เก็บรักษาและจัดแสดงที่หอประติมากรรมต้นแบบ ภายในมหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ กรุงเทพฯ

เมื่อวันที่ 9 มีนาคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า โลกออนไลน์มีการแชร์ข้อมูลพร้อมภาพเอกสารจากผู้ใช้เฟซบุ๊ก “Tanin Soontranon” โดยเป็นภาพเอกสารพิมพ์ดีด ประทับตรา “สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ” มีเนื้อหาเกี่ยวกับการลงชื่อรับเงินค่าจ้างเป็นแบบปั้นรูปอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี ได้เงิน 1 บาทต่อวัน ปรากฏชื่อผู้รับเงินคือ “นางเชื่อม” (อ่าน ‘ย่าโม’ อนุสาวรีย์สามัญชนแห่งแรกของไทย เกือบเป็น ‘นางฟ้าถือดาบ’ ก่อนไอเดียถูกปัดตก)

ความดังนี้ (พิมพ์การสะกดตามต้นฉบับเอกสาร)

วันที่ 14 ธันวาคม พุทธศักราช 2477

ข้าพเจ้าผู้มีนามข้างท้ายนี้ ได้รับเงินค่าจ้างนั่งเป็นแบบสำหรับการปั้นรูปในการทำอนุสสาวรีย์ท้าวสุรนารี ของกอประณีตศิลปกรรม รวม 1 วัน เป็นเงิน 1 บาท (หนึ่งบาทถ้วน)

Advertisement

ได้รับเงินจำนวนนี้ไปเสร็จแล้ว

…..(ลายมือชื่อ) นางเชื่อม ……ผู้รับเงิน

ผู้ใช้เฟซบุ๊กดังกล่าว ยังระบุข้อมูลเพิ่มเติมว่า ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ปั้นดูแบบ 3 วัน นางเชื่อมจึงได้เงินค่าจ้างไป 3 บาท

Advertisement

ทั้งนี้ “Tanin Soontranon” คือ นายธานินทร์ สุนทรานนท์ ศิษย์เก่าคณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เคยเป็นบรรณาธิการหนังสือ “ศิลป พีระศรี สรรเสริญ” จัดพิมพ์โดยพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ศิลป์ พีระศรีอนุสรณ์ กรมศิลปากร

ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี

ย้อนอ่าน ‘ศิลป์ พีระศรี’ (128 ปี) ที่ไม่คุ้นเคย ประติมากรใหญ่ ‘คณะราษฎร’ สู่การเมืองร่วมสมัย

เปิดเรื่องราววันใกล้ชิด ‘ศิลป์ พีระศรี’ ความคิดถึงจากลูกศิษย์ถึงอาจารย์ผู้เป็นที่รัก

 

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image