มนุษย์ออฟฟิศต้องรู้ วิธีป้องกัน โรคจากคอมฯ แม้ไม่เวิร์กฟรอมโฮม ก็เสี่ยง

โรคจากคอมฯ

มนุษย์ออฟฟิศต้องรู้ วิธีป้องกัน โรคจากคอมฯ แม้ไม่เวิร์กฟรอมโฮม ก็เสี่ยง

โรคจากคอมฯ – ในช่วงที่หลายคนต้อง เวิร์กฟอร์มโฮม หรือแม้แต่กลับมาเวิร์กกิ้ง ที่ ออฟฟิส เช่นเดียวกับเด็กๆ ที่ต้องเรียนออนไลน์ ทำให้ชีวิตของเรา ผูกติดกับเทคโนโลยี ทั้งคอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน และแท็บเล็ตอย่างมาก

เสี่ยงต่อการปวดศีรษะ ปวดเมื่อย ปวดหลังไหล่ ต้นคอ รวมทั้งความผิดปกติทางสายตา ที่เป็นสัญญาณบอกว่ากำลังเสี่ยงเป็นคอมพิวเตอร์ซินโดรม ได้

จากข้อมูลของ กรมอนามัย ได้เผยถึงโรคต่างๆ ที่มากับคอมพิวเตอร์ อาทิ

ปวดมือ เพราะต้องใช้เมาส์ในการขยับมือกดคลิกหรือเลื่อนพิมพ์งานมากๆ ทำให้เกิดอาการเมื่อยหรือชานิ้วฝ่ามือทำให้กระดูกข้อมือนิ้ว เจ็บปวดและเสื่อมเกิดการอักเสบของพังผืดบริเวณข้อมือ
ปวดหลัง เนื่องจากการนั่งในท่าเดิม เป็นเวลานาน โดยไม่เปลี่ยนท่า กล้ามเนื้อหลังตั้งแต่บ่าสะบัก และกล้ามเนื้อ 2 ข้างของกระดูกสันหลังจะมีการหดเกร็งตัวเพื่อให้อยู่ในท่าเดิมตลอดเวลา
โรคขาดสารอาหาร เกิดจากรับประทานอาหารไม่ครบ 5 หมู่ หรือไม่ถูกต้องตามหลักอาหารไม่ครบ 5 หมู่ หรือไม่ถูกต้องตามหลัก
โรคกระเพาะอาหาร เกิดจากการใช้คอมพิวเตอร์นาน รับประทานอาหารไม่เป็นเวลาทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารและมีอาการปวดท้อง
โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ เกิดจากการกลั้นปัสสาวะ โดยเฉพาะผู้หญิง
โรคตาจากจอคอมพิวเตอร์ (Computer Vision Syndrome) มีอาการปวดตา แสบและเจ็บตาตาพร่า เมื่อยตา และระคายเคืองตาอาการเหล่านี้เป็นอาการชั่วคราว แต่หากเป็นบ่อยๆจะเกิดอันตรายขึ้นได้

Advertisement

เพื่อป้องกันโรคต่างๆ ที่อาจตามมาจากคอมพิวเตอร์ เราสามารถปรับอุปกรณ์ทำงานและคอมพิวเตอร์ได้ ดังนี้

เก้าอี้ ควรเป็นขนาดที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคลสะโพก หัวเข่า ข้อเท้าควรทำมุมอย่างน้อย 90 องศา พนักพิงจะต้องสัมผัสกับแผ่นหลังโดยสมบูรณ์ และที่เท้าแขนสามารถช่วยพยุงแขนขณะใช้คีย์บอร์ดหรือต่ำกว่าระดับสายตา สามารถปรับความสูงได้และควรใช้จอกรองแสงเพื่อป้องกันแสงจ้าและรังสี
คีย์บอร์ดและเมาส์ ควรวางในระยะห่างและความสูงที่พอเหมาะ ปล่อยแขนตามธรรมชาติและให้ข้อศอกอยู่ใกล้ตัว จะช่วยให้เกิดมุมที่เหมาะสมระหว่างข้อศอกและข้อมือ
ถาดวางคีย์บอร์ดและเมาส์ ต้องมั่นคงแข็งแรง โดยข้อมืออยู่ในตำแหน่งกลาง สามารถวางที่พักข้อมือได้
ที่พักข้อมือ ต้องปราศจากขอบที่แข็งหรือคม หน้ากว้างเพียงพอแก่การพยุงข้อมือและฝ่ามือ
โคมไฟ ให้แสงสว่างพอเพียง เพื่อลดแสงจ้าบนเอกสารหรือบนจอคอมพิวเตอร์

Advertisement

ทางที่ดีควรปรับเปลี่ยนอิริยาบถ พักสายตาและยืดเส้นยืดสาย บริหารร่างกาย ก็จะช่วย ลดความเมื่อยล้าได้

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

รู้ไว้ไม่เสี่ยง เช็กอาการ ‘ออฟฟิศซินโดรม’ ทำงานที่ ‘บ้าน’ ก็เป็นได้

รวมแนวทางการรักษาออฟฟิศซินโดรม

แนะท่าบริหารป้องกัน ‘ออฟฟิศซินโดรม’ วิถีชีวิต(เก่า) ใหม่หลังคลายล็อกเฟส 4 (คลิป)

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image