ภาคี saveบางกลอย จ่อยกระดับ ไม่ไหว รมว.ทส. คนเดิม ‘ขอแค่กลับบ้าน ยากเหลือเกิน’
เมื่อเวลา 14.00 น. วันที่ 22 สิงหาคม ที่ห้องประชุมชั้น 4 ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ ภาคีsaveบางกลอย ร่วมกับ บางกลอยคืนถิ่น, ศูนย์มนุษยวิทยาสิรินธร และ The Active จัดงานเสวนา “3 ปี บางกลอยคืนถิ่น ถึงไหน ทำไมยังไม่ได้กลับบ้าน”
โดยมีผู้ร่วมเสวนา อาทิ นายพงษ์ศักดิ์ ต้นน้ำเพชร กลุ่มบางกลอยคืนถิ่น, นายพชร คำชำนาญ ภาคีSaveบางกลอย, นางสาว ส.รัตนมณี พลกล้า ทนายความและผู้ประสานงานมูลนิธิศูนย์ข้อมูลชุมชน, นายอภินันท์ ธรรมเสนา ผู้จัดการฝ่ายสื่อสารสังคมและขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร, นายเลาฟั้ง บัณฑิตเทอดสกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล สัดส่วนชาติพันธุ์ ร่วมแลกเปลี่ยนมุมมองการต่อสู้เพื่อสิทธิที่ดินทำกิน ของกลุ่มชาติพันธุ์ปกากะญอ บางกลอยบน จ.เพชรบึรี ตลอด 3 ปีที่ผ่านมา
อ่านข่าว
ชาวบางกลอย แถลง ‘สู้ต่อเพื่อกลับบ้าน’ จี้ รบ.ใหม่ กล้าหาญขอโทษกลุ่มชาติพันธุ์ เคยย่ำยี-ป่าเถื่อน
ชาวบางกลอย แถลง ‘สู้ต่อเพื่อกลับบ้าน’ จี้ รบ.ใหม่ กล้าหาญขอโทษกลุ่มชาติพันธุ์ เคยย่ำยี-ป่าเถื่อน
หนุ่มบางกลอย เจ็บหนัก ทวนสัจจะ ‘ให้กลับบ้าน’ ชี้ ‘ขนาด รธน.ยังฉีกได้’ ขอโอกาสบ้างไม่ได้?
ในตอนหนึ่งเมื่อพิธีกรถามว่า ใกล้หรือยังที่ชาวบางกลอยบน จะกลับไปบ้านได้ ?
นายพชรกล่าวว่า บทบาทสำคัญของภาคีsaveบางกลอย ของเรามี 2 ส่วน ส่วนแรกคือการเคลื่อนไหว มีภารกิจในการเคลื่อนไหวต่างสมรภูมิกัน มารวมตัวกันเพราะเห็นว่าประเด็นบางกลอย เป็นเรื่องของพวกเราทุกคน และอยากจะสนับสนุนการเคลื่อนไหว
ส่วนที่ 2 มองว่าบทบาทของเรา สามารถที่จะเป็นเพื่อนเคียงบ่าเคียงไหล่ และให้ความมั่นใจกับชาวบ้านพี่น้องบางกลอยพื้นถิ่นได้ว่า คุณไม่ได้สู้อย่างโดดเดี่ยวอีกต่อไป
“ในระหว่างนั้นการเคลื่อนไหวเราสามารถจุดประกายคำถามใหญ่ๆ ถึงสังคมได้ สิ่งที่เราพบและคิดว่าเป็นอุปสรรคใหญ่ ทำให้เรามองเรื่องบางกรณีไม่ใช่แค่เรื่องชุมชนเล็กๆ แต่เป็นเรื่องของพี่น้องกลุ่มชาติพันธุ์และเรื่องของผู้คนในประเทศนี้
ความพยายามที่จะกลับบ้าน ซึ่งดูเป็นข้อเรียกร้องที่ไม่น่าจะยาก ทั้งๆ ที่มีความชอบธรรมในแง่ที่ว่า เป็นชุมชนดั้งเดิมที่อยู่ตรงนั้น มีหลักฐาน มีแนวนโยบาย มีการตั้งคณะกรรมการอิสระ ตั้งคณะทำงานมากมายร่วมกัน มีการลงพื้นที่สำรวจข้อมูลร่วมกัน มีเสียงจากภาคประชาสังคม หน่วยงานรัฐ ทำไมข้อเรียกร้องเรื่องการกลับบ้านถึงเป็นเรื่องยากเหลือเกิน ที่ทำให้ 3 ปีถึงต้องกลับมาคุยกันตรงนี้” นายพชรกล่าว
นายพชร กล่าวต่อว่า ระหว่างนี้เราพบว่า ถูกโต้กลับจากแนวคิดของกลุ่มคนที่พยายามขัดขวางการกลับขึ้นไปของชาวบ้าน และการทำไร่หมุนเวียน เป็นต้นว่า “ประเทศนี้ไม่มีชนเผ่าพื้นเมือง” ซึ่งเกิดมาจากผู้กำหนดนโยบายในกระทรวงทรัพย์พยากรณ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(ทส.) หรือคำกล่าวหาไร่เลื่อนลอย ก็กลับมา การที่ชาวบ้าน บุกรุกป่า หรือการที่คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ได้ไปยื่นหนังสือเพื่อที่จะคัดค้านการกลับขึ้นไปของชาวบ้าน เป็นสิ่งที่ทำให้พวกเราต้องไปต่อ เพราะว่ามันไม่ใช่เรื่องเล็ก เป็นเรื่องระดับโครงสร้างที่เกิดขึ้นกับพี่น้องกลุ่มชาติพันธุ์ทั่วประเทศ ไม่ใช่แค่พี่น้องบางกลอย
จึงรวมตัวกันและมั่นใจมากกว่าถ้าพี่น้องบางกลอยสามารถที่จะกลับบ้านได้ จะเป็นการคืนสิทธิ์ คืนศักดิ์ศรี ให้พี่น้องชนเผ่าพื้นเมืองและพี่น้องในเขตป่าทั่วประเทศ ที่จะลุกขึ้นมาต่อสู้ในแนวทางนี้ร่วมกัน” นายพชร กล่าว
เมื่อถามถึงแนวทางการเคลื่อนไหวของ
ภาคีsaveบางกลอย หลังจากนี้ ?
นายพชร เผยว่า ตอนนี้มีการลงนามรับรองแนวทางกลับบ้าน เราตั้งต้นจากนี้ และจะไม่เริ่มจาก 0 ซึ่ง 3 ปีที่ผ่านมา เรามีพี่น้อง มีสังคมที่พร้อมจะจับตาการเคลื่อนไหว และภาคีไม่เห็นทางอื่นนอกจากต้องเคลื่อนไหวในรัฐบาลที่กำลังจะเกิดขึ้นแน่ๆ
“ในเมื่อตอนนี้ ข้อเสนอเรื่องการกลับบ้าน ไม่สามารถเดินไปได้ หนีไม่พ้นการยกระดับการกลับบ้าน เพราะเป็นภาพสะท้อนแนวคิดอคติชาติพันธุ์ ในสังคมมาอย่างยาวนาน”
เมื่อถามถึงความหวัง หลังจากมีรัฐบาล คาดหวังมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นคนเดิม หรือคนใหม่ ?
นายพชรกล่าวว่า ตนคิดว่า อย่างไรเปลี่ยนก็ดีกว่า เพราะการเคลื่อนไหว 16 กรกฎาคมที่ผ่านมา กลุ่มบางกลอยคืนถิ่น ไปยื่นหนังสือที่กระทรวงทรัพยากรฯ ให้ตั้งคณะกรรมการ 3 ฝ่าย ให้พี่น้องกลับบ้าน หลังจากนั้น นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรฯ พูดออกสื่อว่า กรณีบางกลอยจบแล้ว จะไม่มีการพูดถึงการกลับบ้าน บางกลอยใจแผ่นดิน อีกแล้ว
“เบื้องต้น เปลี่ยรัฐมนตรีให้ได้ก่อน ไม่มีทางอยู่กับรัฐมนตรีคนนี้ได้อีกแล้ว” นายพชรกล่าวย้ำ