‘ดร.คงกระพัน’ ซีอีโอ GC ขึ้นเวที ‘มติชน’ โชว์ผู้นำธุรกิจสู่ Net Zero

‘ดร.คงกระพัน’ ซีอีโอ GC ขึ้นเวที ‘มติชน’ โชว์ผู้นำธุรกิจสู่ Net Zero

ในห้วงเวลาที่คนทั้งโลกตระหนักกับผล กระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและความผันผวนของราคาพลังงาน หากเอ่ยถึงผู้นำเอกชนที่ดำเนินธุรกิจด้วยความใส่ใจสิ่งแวดล้อม พร้อมลดก๊าซเรือนกระจกสู่เป้าหมายสำคัญ Net Zero รายแรกๆ ของไทย จะต้องมีชื่อ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC ที่มีแม่ทัพคนสำคัญ คือ ดร.คงกระพัน อินทรแจ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร GC รวมอยู่ด้วย!!

ดร.คงกระพันระบุว่า GC Group ในฐานะบริษัทเคมีภัณฑ์ระดับสากลที่มุ่งมั่นสร้างสรรค์คุณภาพชีวิต ให้คำมั่นเพื่อสร้างสรรค์คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของทุกคน เรามีแผนงานที่ชัดเจน ในการลดก๊าซเรือนกระจกลงให้ได้ 20% ภายในปี ค.ศ.2030 และพร้อมเดินหน้าสู่เป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ หรือ Net Zero ภายในปี ค.ศ.2050 หรือปี 2593

“ในฐานะพลเมืองโลกเราต้องการส่งต่อโลกใบนี้ที่ดีกว่าให้กับคนรุ่นต่อไป และแน่นอนว่าเราไม่สามารถทำคนเดียวได้ ถึงเวลาแล้วที่เราทุกคนต้องหันหน้ามาร่วมมือกัน Together To Net Zero” ซีอีโอ GC เน้นย้ำ

การตั้งเป้าดังกล่าวเป็นสิ่งที่ท้าทายต่อ GC ภายใต้เงินลงทุนเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 5 พันล้านเหรียญสหรัฐ และ 2.2 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ในการปรับโครงสร้างธุรกิจเข้าสู่ธุรกิจคาร์บอนต่ำ เพื่อไปสู่เป้าหมาย Net Zero!!

Advertisement

บริษัทมุ่งประยุกต์ใช้หลักเศรษฐกิจหมุนเวียน ผสานเข้ากับแนวทางการชดเชยคาร์บอนด้วยวิธีต่างๆ เพื่อลดการปล่อยคาร์บอน (Decarbonization) ด้วยการดำเนินการใน 3 ด้าน ประกอบด้วย 1.Efficiency-Driven เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน ลดการปล่อยของเสีย 2.Portfolio-Driven เพื่อปรับโครงสร้างธุรกิจในระยะยาวสู่ธุรกิจคาร์บอนต่ำโดยยังคงรักษาการเติบโตขององค์กร และ 3.Compensation-Driven ประยุกต์วิธีดูดซับคาร์บอนจากธรรมชาติ และค้นหาเทคโนโลยีดูดซับคาร์บอนมาสนับสนุน การดำเนินงานให้ได้ตามเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

ลงลึกแต่ละด้าน เริ่มจากด้านที่ 1 Efficiency-Driven บริษัทมุ่งมั่นในการใช้พลังงานและทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ โดยทุกโรงงานของบริษัทได้รับการรับรองระบบการจัดการพลังงานตามมาตรฐาน ISO 50001 จากสถาบันรับรองมาตรฐาน ISO แสดงถึงการควบคุมดูแลรับผิดชอบการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ และมีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

ปี 2564 บริษัทนำเทคโนโลยีมาพัฒนาประสิทธิภาพของกระบวนการผลิตให้ใช้ทรัพยากรและพลังงานอย่างคุ้มค่าสูงสุด ทั้งในด้านการลดการใช้พลังงานและไอน้ำในกระบวนการผลิต อาทิ โครงการ Maptaphut Integration Project โครงการ Heavy Gas Project สามารถลดใช้พลังงานได้ถึง 1,070,391 จิกะจูลต่อปี ลดการปลดปล่อยคาร์บอน 80,280 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า

Advertisement
ดร.คงกระพัน อินทรแจ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร GC

บริษัทยังจัดทำโครงการด้านอนุรักษ์พลังงาน 82 โครงการ พร้อมสร้างจิตสำนึกให้พนักงานลดการใช้พลังงานในกระบวนการผลิต สามารถลดใช้พลังงานได้ถึง 1,070,391 จิกะจูลต่อปี ลดการปลดปล่อยคาร์บอน 80,280 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า และมีโครงการลดการใช้ไอน้ำในกระบวนการผลิต 29 โครงการ อาทิ การ Optimize ใช้ไอน้ำใน Sulfolane Unit ที่โรงอะโรเมติกส์ 1 (GC 4) ลดการใช้พลังงานได้ถึง 83,439 จิกะจูลต่อปี ลดการปลดปล่อยคาร์บอน 4,684 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า

นอกจากนี้ ยังนำพลังงานคาร์บอนต่ำมาใช้ในสำนักงานและกระบวนการผลิต ปัจจุบันดำเนินโครงการนำร่องด้านการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา (Solar Rooftop) ภายในโรงงานต่างๆ ของบริษัทอย่างต่อเนื่อง และมีการหารือร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนเพื่อให้เข้าถึงแหล่งพลังงานคาร์บอนต่ำอื่นๆ ภายใต้ต้นทุนที่แข่งขันได้มากขึ้นในอนาคต

นอกจากโครงการข้างต้น บริษัทยังพัฒนา แสวงหา และสร้างความร่วมมือกับพันธมิตรต่างๆ ผ่านทาง Corporate Venture Capital (CVC) ในการนำเทคโนโลยีล้ำสมัยที่มีประสิทธิภาพสูงในการลดก๊าซเรือนกระจก ภายใต้ต้นทุนที่แข่งขันได้มาประยุกต์ใช้ เพื่อก้าวข้ามขีดจำกัดของเทคโนโลยีปัจจุบัน ได้แก่ เทคโนโลยีพลังสะอาดในรูปแบบ อื่นๆ เช่น พลังงานไฮโดรเจน พลังงานชีวภาพ และเทคโนโลยีกระบวนการผลิตล้ำสมัยที่สามารถใช้พลังงานสะอาดทดแทนการใช้พลังงานจากเชื้อเพลิงไฮโดรคาร์บอน เป็นต้น

 

ต่อด้านที่ 2 Portfolio-Driven บริษัทได้ปรับ Portfolio มุ่งลงทุนสู่ธุรกิจเคมีภัณฑ์มูลค่าสูง (High Value Business) ธุรกิจสีเขียว (Green Business) และธุรกิจที่สอดคล้องกับหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน อาทิ Plastic Recycling สร้างผลิตภัณฑ์คาร์บอนต่ำและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ตลอดจนร่วมมือกับลูกค้าเพื่อพัฒนา Value-added Applications ควบคู่ไปกับการลด Carbon Footprint ของผลิตภัณฑ์ปลายทาง

รวมทั้งสร้างระบบหมุนเวียนของผลิตภัณฑ์อย่างครบวงจร สร้างการตระหนักรู้ด้านการจัดการพลาสติกใช้แล้วร่วมกับพันธมิตร เพื่อส่งเสริมการนำกลับเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล และ Upcycling อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด แสวงหา พัฒนา และลงทุนในเทคโนโลยี ตลอดจนโครงสร้างพื้นฐาน ในเทคโนโลยีรีไซเคิลชั้นสูงให้ครอบคลุมและหลากหลาย เช่น Mechanical Recycling, Chemical Recycling และอื่นๆ

GC ยังมีแผนปรับโครงสร้างธุรกิจระยะยาวสู่ธุรกิจคาร์บอนต่ำ ด้วยการปรับกระบวนการบริหารจัดการและทิศทางการลงทุนเข้าสู่กลุ่มธุรกิจเคมีภัณฑ์มูลค่าสูง ที่มีดัชนีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำ กลุ่มผลิตภัณฑ์เคมีภัณฑ์ฐานชีวภาพ และกลุ่มผลิตภัณฑ์รีไซเคิล สอดคล้องกับนโยบายขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจ Bio-Circular-Green Economy (BCG Model) ของประเทศ โดยมีเป้าหมายเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในกลุ่มธุรกิจดังกล่าว เป็นร้อยละ 35 ในปี 2030 เพื่อการเติบโตทางธุรกิจอย่างต่อเนื่อง ภายใต้อัตราการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลดลง

นอกจากนี้บริษัทยังศึกษาและติดตามธุรกิจใหม่ จากการเปลี่ยนแปลงสู่ธุรกิจคาร์บอนต่ำ เพื่อสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืนในอนาคตอีกด้วย

ไม่เพียงเท่านี้ บริษัทยังมุ่งเน้นแก้ปัญหาการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้สอดคล้องกับความต้องการที่เพิ่มขึ้น เพื่อลดต้นทุนโครงสร้างพื้นฐาน ลดการเกิดของเสีย ควบคู่ไปกับการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก ผ่านการสร้างระบบหมุนเวียนของผลิตภัณฑ์อย่างครบวงจร เพื่อเป็น End-to-End Solution ให้กับลูกค้า คู่ค้า ในการมุ่งสู่การเป็นธุรกิจคาร์บอนต่ำควบคู่ไปกับการลดปริมาณขยะ รวมทั้งมุ่งเน้นการส่งมอบผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ตลอดจนผลิตภัณฑ์ฐานชีวภาพ เพื่อเป็นทางเลือกที่หลากหลาย ตอบสนองความต้องการของตลาดอย่างครบวงจร

ล่าสุด GC ยังเดินหน้านวัตกรรมคาร์บอนต่ำที่สนองตอบความต้องการของผู้บริโภค ผ่านผลิตภัณฑ์และบริการต่างๆ ดำเนินการร่วมกับผู้เชี่ยวชาญ ลูกค้า พันธมิตร และภาคส่วนต่างๆ จนสามารถส่งมอบต้นแบบผลิตภัณฑ์ปลายทางใหม่ๆ ที่มี Carbon Footprint ลดลงได้อย่างหลากหลาย ส่งเสริมการใช้วัสดุฐานชีวภาพและวัสดุรีไซเคิล

ตลอดจนสร้างช่องทางการมีส่วนร่วมของผู้บริโภคในการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์คาร์บอนต่ำที่ให้มากขึ้น โดยใช้ “ศูนย์ความร่วมมือและพัฒนาผลิตภัณฑ์” จนสร้างสรรค์นวัตกรรมผลิตภัณฑ์คาร์บอนต่ำใหม่ๆ ทั้ง Lifestyles, Furniture, Construction และอื่นๆ

สำหรับการขับเคลื่อนด้านที่ 3 Compensation-Driven การชดเชยคาร์บอน เป็นอีกหนึ่งแรงขับเคลื่อนที่สำคัญในการบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกส่วนที่เหลือหลังจากการดำเนินงานด้าน Efficiency-Driven และ Portfolio-Driven โดยบริษัทใช้เทคโนโลยี (Technology-based Solutions) ผ่านการดักจับและกักเก็บคาร์บอนด้วยเทคโนโลยี Carbon Capture and Storage (CCS) และการชดเชยผ่านการดูดซับคาร์บอนจากธรรมชาติ เช่น การปลูกป่า ฟื้นฟูป่า เป็นต้น

ขณะเดียวกัน GC ยังอยู่ระหว่างการศึกษาโครงการการนำเทคโนโลยี Carbon Capture Utilization and Storage (CCUS) โดยพิจารณาจากความพร้อมของเทคโนโลยีและความเป็นไปได้เชิงธุรกิจ ตลอดจนใช้ช่องทาง Corporate Venture Capital (CVC) เพื่อเข้าถึงเทคโนโลยีใหม่ๆ โดยมีแผนผลักดันการสร้างความร่วมมือกับกลุ่มบริษัทต่างๆ เพื่อเพิ่มโอกาสให้กับธุรกิจพร้อมกับลดต้นทุน โดยมีเป้าหมายดักจับคาร์บอน ด้วยเทคโนโลยี CCUS 6.30 ล้านตัน
ในปี 2593

“นอกจากนี้ บริษัทยังดำเนินงานฟื้นฟูและเสริมสร้างสมดุลระบบนิเวศของป่า ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และชุมชนต่างๆ พื้นที่รวมกว่า 2,500 ไร่ เพื่อเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการกักเก็บคาร์บอน และการสร้าง Carbon Credit สำหรับชดเชยก๊าซเรือนกระจกส่วนที่เหลือหลังจากการดำเนินงาน โดยมีเป้าหมาย 0.80 ล้านตันต่อปี ในปี 2593 นอกจากนี้ ยังติดตามสถานการณ์ตลาด Carbon Credit และหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องต่างๆ เพื่อให้การชดเชยคาร์บอนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด” ดร.คงกระพันสรุป

จะเห็นว่าสิ่งที่ GC ดำเนินการทั้งหมดก็เพื่อเป้าหมายใหญ่ คือ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ หรือ Net Zero ในปี 2050 แนวทางนี้ถือเป็นทางออกหนึ่งของวิกฤตการณ์ด้านพลังงานที่ประเทศไทยเผชิญอยู่
“มติชน” ตระหนักถึงวิกฤตการณ์ด้านพลังงาน จึงเปิดเวทีสัมมนาให้ผู้บริหารของภาครัฐและภาคเอกชนในอุตสาหกรรมด้านพลังงาน ได้ฉายภาพถึงสถานการณ์พลังงานในทุกแง่มุม ทั้งพลังงานแบบเดิม และนวัตกรรมใหม่ที่จะเกิดขึ้น เพื่อให้ภาคธุรกิจ และประชาชน ได้รับรู้และเตรียมรับการเปลี่ยนแปลงที่กำลังเกิดขึ้น

สัมมนาครั้งนี้ จัดภายใต้หัวข้อ “Energy For Tomorrow วาระโลกวาระประเทศไทย 2023” ในวันพุธที่ 26 ตุลาคม 2565 เวลา 13.00-1630 น. ณ สามย่านมิตรทาวน์ ฮอลล์ 1 (ชั้น 5) ศูนย์การค้าสามย่านมิตรทาวน์ โดยรับเกียรติจาก นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ปาฐกถาพิเศษ “พลังงาน : วาระโลก วาระประเทศไทย 2023” เสริมด้วยการบรรยายพิเศษ “Road Map พลังงานไทย” จากนายวัฒนพงษ์ คุโรวาท ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กระทรวงพลังงาน

จากนั้นเป็นมุมมองจากภาคเอกชน เริ่มจากการบรรยายพิเศษ “ธุรกิจยั่งยืน ปรับตัวมุ่งสู่ Net Zero” โดย ดร.คงกระพัน อินทรแจ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) ตามด้วยวงเสวนาหัวข้อ “มุมมองธุรกิจ ทิศทางพลังงานไทย 2023” จากนายสุโรจน์ แสงสนิท รองประธานกรรมการบริหาร บริษัท เอสเอไอซี มอเตอร์-ซีพี จำกัด ค่ายเอ็มจี (MG) และ ดร.เกษรา ธัญลักษณ์ภาคย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เสนาดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) โดยมีนายบัญชา ชุมชัยเวทย์ ผู้ประกาศข่าว ดำเนินรายการรูปแบบสัมมนายังจัดแบบผสม

ทั้งเปิดโอกาสให้ผู้สนใจเข้ารับฟัง และเข้าชมเข้าฟัง Live Streaming ผ่าน Facebook มติชน ออนไลน์, ประชาชาติธุรกิจ, ข่าวสด และ YouTube มติชนทีวี Line มติชน, ข่าวสด อย่าพลาด ติดตามข่าวคืบหน้าและเชิญลงทะเบียนเข้าร่วมรับฟังได้ทันทีโดยการสแกนคิวอาร์โค้ดด้านล่างนี้

หรือกดลงทะเบียนได้ที่ลิงค์นี้
https://www.eventpassinsight.co/mobile/registration/create/eft//?code=2022

ข่าวน่าสนใจอื่น:

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image