ยังจำได้ไหม? ‘วิมานพระอินทร์’ จุดกระแสค้านทางเลียบเจ้าพระยา สู้ 8 ปี สู่คำพิพากษา ‘ระงับ’ โครงการ

ซ้าย-วิมานพระอินทร์ ริมเจ้าพระยา ขวา-เดอะ คริสตัล ไอแลนด์ รัสเซีย

เมื่อวันที่ 9 มีนาคม สืบเนื่องกรณี ศาลปกครองสั่งระงับโครงการพัฒนาริมแม่น้ำเจ้าพระยา เนื่องจากดำเนินการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย (อ่านข่าว ศาลปกครอง สั่งระงับโครงการพัฒนาริมแม่น้ำเจ้าพระยา ชี้ไม่ชอบด้วยกฎหมาย) สร้างความปลาบปลื้มใจแก่เครือข่ายประชาชนที่ร่วมคัดค้านมานานกว่า 8 ปี

ย้อนไปเมื่อ พ.ศ.2559 โครงการดังกล่าวถูกเปิดเผยต่อสาธารณชนอย่างกว้างขวาง แม้เป็นโปรเจ็คที่เกิดขึ้นก่อนหน้านั้น ทว่า กลายเป็นที่วิพากษ์อย่าหนักเมื่อมีภาพ ‘วิมานพระอินทร์’ สถาปัตยกรรมที่ตั้งใจให้เป็น ‘แลนด์มาร์ก’ หรือ ‘จุดหมายตา’ แห่งใหม่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา โดยเฉพาะเมื่อกลุ่ม Friends of the river หรือ ‘เพื่อนแม่น้ำ’ พร้อมวงการสถาปนิก นักออกแบบ พร้อมใจตั้งข้อสังเกตว่าละม้ายคล้ายคลึงกับรูปแบบสถาปัตยกรรมหลายแห่งในต่างประเทศ อาทิ เดอะ คริสตัล ไอแลนด์ ผลงาน นอร์แมน ฟอสเตอร์ สถาปนิกชาวอังกฤษ ซึ่งเคยถูกออกแบบสำหรับก่อสร้างริมแม่น้ำมอสโก ประเทศรัสเซีย รวมถึง “ฮิโช” หรือ “Flight” แลนด์มาร์กเมืองนาโกย่า ประเทศญี่ปุ่น

บน วิมานพระอินทร์ ล่าง คริสตัล ไอแลนด์ (ภาพจากhttps://www.facebook.com/friendsofthechaophrayariver)

ต่อมา รศ.ดร.สกุล ห่อวโนทยาน ผู้จัดการโครงการ ฯ พร้อมด้วย ผศ.ดร.อันธิกา สวัสดิ์ศรี รองผู้จัดการโครงการฯ แถลงข่าวที่สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) แถลงยืนยันว่า ไม่ลอก แต่มีแนวคิดหลักมาจาก ‘นาคนาม’ กล่าวคือ ทางทิศเหนือเป็นเศียรนาค กลางเป็นท้องนาค ปลาย เป็นหางนาค ยอดแหลมเป็นทรงกรวย ได้แรงบันดาลใจจากเจดีย์ทรง ‘จอมแห’ (อ่าน สจล.แถลงยันไม่ได้ลอก-ยอมถอด “วิมานพระอินทร์” เหตุสังคมกังขา-ขอโทษประชาชน)

ขณะที่กระแสในโลกออนไลน์ ต่างยั่วล้อแสบสันต์ โดยนำภาพแบบวิมานพระอินทร์ไปเปรียบเทียบ และตัดต่อมากมาย (อ่าน สู่โหมดฮา! ชาวเน็ตหลากวงการร่วมอำ “วิมานพระอินทร์” แลนด์มาร์กเจ้าพระยา หลังประเด็นคาใจลอก-ไม่ลอก?)

Advertisement
สถาปนิกและนักเขียนดัง ร่วมแซว วิมานพระอินทร์

แม้ถอด ‘วิมานพระอินทร์’ ออกจากโครงการฯ แต่การคัดค้านทางเลียบเจ้าพระยาฯ ยังไม่จบ หากแต่เป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้น

วงการสถาปนิก เอ็นจีโอ ภาคประชาชน ตัวแทนชุมชนริมแม่น้ำเจ้าพระยา ร่วมกันต่อต้านจนกลายเป็นปรากฏการณ์ครั้งสำคัญ โดยยกเหตุผลด้านผลกระทบทั้งต่อวิถีชีวิต ภูมิทัศน์ การรบกวนแหล่งโบราณสถาน และอื่นๆอีกมากมาย นำไปสู่การยื่นต่อศาลปกครองกลาง เมื่อพ.ศ.2561 ขอให้มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว ระงับโครงการ โดยเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2561 ส.รัตนมณี พลกล้า จาก ทีมกฎหมายมูลนิธิศูนย์ข้อมูลชุมชน ให้สัมภาษณ์หน้าศาลในวันที่ผู้ฟ้องคดีร่วมกันหอบเอกสารกว่า 3,000 หน้า ยื่นพิจารณาและขอความคุ้มครองชั่วคราว แบ่งเป็น 4 ส่วน

Advertisement

ได้แก่ 1.ข้อมูลเกี่ยวกับโครงการจากส่วนราชการและจากการค้นหาข้อมูลเพิ่มเติม 2.งานวิจัย การศึกษาผลกระทบ 3.ข่าวในสื่อต่างๆ และกิจกรรมที่เครือข่ายผังเมืองฯ ติดตามคัดค้าน 4.หนังสือที่เคยยื่นต่อหน่วยงานต่างๆ

กระทั่ง 9 มีนาคมที่ผ่านมา ศาลปกครอง มีคำพิพากษาระงับโครงการพัฒนาริมแม่น้ำเจ้าพระยาในที่สุด โดยหากจะดำเนินการต้องดำเนินการตามระเบียบการรับฟังความคิดเห็น ปี 2548 รวมถึงทำการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) แม้จะไม่มีกำหนดไว้ในประกาศโครงการที่ต้องทำ แต่โครงการนี้มีผลกระทบร้ายแรงต่อสิ่งแวดล้อม ตาม รธน.จึงต้องทำ EIA นอกจากนี้ ต้องขออนุญาตจากกรมเจ้าท่า รวมถึงกรมศิลปากร

กล่าวโดยสรุปคือ ศาลให้ ‘ชะลอโครงการ’ จนกว่าคดีจะถึงที่สุด

ย้อนอ่าน

พลิกปูม ‘ทางเลียบเจ้าพระยา’ ก่อน ‘ชะลอยาว’ อภิมหาโปรเจ็กต์ยุคประชาธิปัตย์ ถึงโครงการในฝันรัฐบาล คสช.

อ่านทีละบรรทัด คำสั่ง ‘ศาลปกครอง’ เบรก ‘ทางเลียบเจ้าพระยา’ ยกแรกเพิ่งเริ่ม อย่ารีบเดาตอนจบ

คำต่อคำ ดีเบตเดือด ‘ทางเลียบเจ้าพระยา’ โครงการผู้ใหญ่ลี ในยุค 4.0 ?

32 องค์กรออกแถลงการณ์ถึง ‘บิ๊กตู่’ จวก ‘ทางเลียบเจ้าพระยา’ ขัดรัฐธรรมนูญ ไม่ชอบด้วยกฎหมาย กระทบใหญ่หลวง

เจอแฝดอีก! แลนด์มาร์ก “นาโกยา” สร้างตั้งแต่ 1989 ชาวเน็ตงง ตกลงใครลอกใคร?

 

 

 

 

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image