รองผู้ว่าฯ ลั่น ไม่ใช่แค่ฟุตปาธ แต่เป็นยุทธศาสตร์เมือง ดัน ‘3 เรือธง’ พลิกโฉม กทม.ให้น่าเดิน

รองผู้ว่าฯ ลั่น ไม่ใช่แค่ซ่อมฟุตปาธ แต่เป็นยุทธศาสตร์เมือง เปิดแผนร่วมจุฬาฯ – สสส. ดันโครงการ ‘3 เรือธง’ พลิกโฉม กทม.เดินได้-เดินดี

เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม ที่ห้องประชุม Amber 1-3 ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค กรุงเทพฯ รศ.ดร.วิศณุ ทรัพย์สมพล รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นประธานในพิธีเปิดงาน Walkable Bangkok: กรุงเทพฯ 3 โครงการเรือธงที่จะทำให้กรุงเทพ เดินได้ เดินดี กว่าที่เคย

ในช่วงแรก รศ.ดร.วิศณุ กล่าวปาฐกถาพิเศษ นำเสนอ 3 โครงการตัวอย่าง เพื่อคน กทม. กรุงเทพฯ “เมืองเดินได้ เมืองเดินดี” ได้แก่

1. โครงการปรับปรุงภูมิทัศน์ทางเท้าถนนสุขุมวิท
2.โครงการ Sky Walk ราชวิถี จากอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ-ถนนพระราม 6
3.โครงการ Covered Walkway หลังคาคลุมทางเดินกันแดดกันฝน

Advertisement

จากนั้น เข้าสู่ช่วงการนำเสนอการดำเนินงาน 3 โครงการเรือธง ขับเคลื่อนกรุงเทพฯ เดินได้-เดินดี โดย รศ.ดร.นิรมล เสรีสกุล ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) และผู้จัดการโครงการฯ, นายไพทยา บัญชากิติคุณ กรรมการผู้จัดการบริษัท อะตอม ดีไซน์ จำกัด และสถาปนิกประจำโครงการฯ ร่วมเล่าหลักการ รายละเอียด เหตุผลความสำคัญ และวัตถุประสงค์ของโครงการ Sky Walk ราชวิถี จากอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ-ถนนพระราม 6

Advertisement

โดยการจัดทำโครงการนี้เริ่มตั้งแต่ 2558 ซึ่งทาง กทม. ได้มีการทบทวนซึ่งมาประจวบเหมาะพอดีกับเฟสที่ 2 ซึ่งเริ่มในปี 2566-2571 ซึ่งจุดเริ่มต้นของโครงการเริ่มจากจุดเปลี่ยนถ่ายการสัญจรที่สำคัญคือ อนุสาวรีย์ BTS อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ช่วงถนนราชวิถี 1.1 กม. ให้เชื่อมกับ Sky Walk และในอนาคาดว่าจะมีการเชื่อมต่อกันกับรถไฟฟ้าสายสีแดง บนถนนกำแพงเพชร ซึ่งโครงการนี้มีการหารือกับหน่วยงานและประชาชนในพื้นที่ตั้งแต่ปี 2557 และมีการพัฒนาต่อ ในโครงการกรุงเทพฯ 250 ทางศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมืองได้รับมอบหมายจาก สำนักผังเมือง กทม. ได้จัดทำผังเมืองเพื่อการฟื้นฟูเขตเมืองชั้นในให้น่าอยู่ น่าทำงาน

สำหรับวัตถุประสงค์หลักๆ ของโครงการนี้คือ

1. เชื่อมต่อ แลกเปลี่ยน แบ่งปัน ทรัพยากรของโรงพยาบาล สถาบันการแพทย์และโรงเรียนการแพทย์ 12 หน่วยงาน

2. เชื่อมต่อการสัญจรที่สะดวกสะบายสำหรับทุกคน ทั้งผู้ป่วย ผู้มีข้อจำกัดด้านการเคลื่อนที่ ผู้สูงอายุ บุคลากรและเจ้าหน้าที่ รวมทั้งประชาชนทั่วไป อย่างเท่าเทียม

3. เตรียมความพร้อมรับมือวิกฤตการณ์อนาคต อาทิ น้ำท่วม เหตุการณ์ประท้วงที่มักเกิดขึ้นในบริเวณอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ

4. จุดเริ่มต้นใน “การฟื้นฟูย่านด้วยการเดิน” แบบบูรณาการ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต การเดินทาง เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม สังคม

ปัญหาหลักๆ ที่เป็นวิกฤตที่สุดบน ถ.ราชวิถี ใน กทม. คือ ปัญหาจราจร ซึ่งมีปริมาณรถมากว่าความสามารถการรองรับของถนน เป็นที่ตั้งของสถานที่ราชการโรงพยาบาล สถานศึกษา และเป็นที่จอดรถน้อยประมาณ 10,000คัน ซึ่งสิ่งที่ตามมาคือความปลอดภัย มลภาวะ ฝุ่น จึงมีวัตถุประสงค์หลักๆ คือการเปลี่ยนถ่ายการสัญจร เพื่อให้เมืองกรุงเทพฯ น่าอยู่มากยิ่งขึ้น

ต่อมา ผศ.คมกริช ธนะเพทย์ อาจารย์ประจำภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และผู้จัดการโครงการฯ นายธัชพล สุนทราจารย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท แลนด์สเคป คอลลาบอเรชัน จำกัด และภูมิสถาปนิกประจำโครงการฯ และ ผศ.ดร. จรรยาพร สไตเลอร์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและนวัตกรรมการส่องสว่าง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และผู้เชี่ยวชาญด้านแสงสว่างประจำโครงการฯ ร่วมเสนอแนวคิดและรายละเอียด หลักการเหตุผล ความสำคัญและวัตถุประสงค์ของโครงการปรับปรุงภูมิทัศน์ทางเท้าถนนสุขุมวิท

โดยที่มาของโครงการนี้มีข้อเสนอแนวทางสร้างการเปลี่ยนแปลงของทางเท้าสุขุมวิท เพื่อเคลียร์ระยะทางเท้าให้กว้างอย่างน้อย 1.5 เมตร สร้างบรรยากาศที่รื่นรมย์และอัตลักษณ์ของย่านด้วยต้นไม้ เพิ่มพื้นที่ทรงพุ่มไม้ เพื่อดูดซับ CO2 ลดฝุ่น PM2.5/PM 10 เพิ่มความเย็นของการระเหยน้ำจากแผ่นทางเดิน เพิ่มพื้นที่ซึมน้ำ เพิ่มแสงไฟและอุปกรณ์ประกอบถนน ส่งเสริมหน้าบ้านน่ามอง อาคารริมถนนและเชื่อมเส้นทางเดินเท้า สร้างความเป็นย่าน โดยมีแนวคิด ‘น่าเดิน’ เป็นหลักเพื่อปรับปรุงภูมิทัศน์ของเมืองกรุงเทพ

ต่อมา รศ.ดร.นิรมล เสรีสกุล ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) และผู้จัดการโครงการฯ และอีกท่าน นายไพทยา บัญชากิติคุณ กรรมการผู้จัดการบริษัท อะตอม ดีไซน์ จำกัด และสถาปนิกประจำโครงการฯ ได้มาเสนอแนะแนวคิดรายละเอียด วัตถุประสงค์ โครงการเรือธง 3 ทางเดินมีหลังคาคลุม Covered Walkway

ความว่า เป็นอีกโครงการหนึ่งที่ต้องผลักดันเพื่อลดปัญหาหลักๆ คือสภาพอากาศ กับระยะทาง เพราะสภาพอากาศมีผลต่อการตัดสินใจในการเดินทางเป็นอย่างมากในชีวิตประจำวัน ซึ่งมีเกณฑ์การออกแบบ ได้แก่ รูปแบบโครงสร้าง สีที่เข้ากับบริบทในพื้นที่ วัสดุควรเป็นวัสดุที่แข็งแรง และแสงสว่างที่ประหยัดพลังงานและดูแลรักษาได้ง่าย เพื่อปรับเปลี่ยนระบบนิเวศ บูรณาการนโยบายจากหลากหลายกระทรวง ไม่ใช่เพียงแค่กรุงเทพมหานคร เป็นอีกหนึ่งนโยบายที่สำคัญที่เป็นแนวทางหลักของการพัฒนาเมืองในกรุงเทพมหานคร และประเทศไทย

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image