เปิดเอกสารการประชุม ‘กรมศิลป์’ แจ้งรฟท.-คมนาคม ‘รับทราบ’ สถานีไฮสปีดเทรนผ่าเมืองอโยธยาตั้งแต่ปี 63

เมื่อวันที่ 26 เมษายน สืบเนื่องกรณีนักวิชาการและประชาชนกลุ่มหนึ่งคัดค้านการก่อสร้างสถานีอยุธยาของโครงการรถไฟความเร็วสูงช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมาว่า โดยให้เหตุผลว่าจะส่งผลกระทบต่อโบราณสถานในพื้นที่เมืองอโยธยา โดยเมื่อ 22 เมษายนที่ผ่านมา นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ระบุว่า ตำแหน่งสถานีอยู่ห่างไกลจากพื้นที่ไปกว่า 2 กิโลเมตร มากกว่าที่กฎหมายกำหนด และไม่ได้สร้างผ่าเมือง เพราะสร้างบนแนวรถไฟเดิม และโครงการนี้หากสร้างเสร็จจะมีประโยชน์ต่อคนอยุธยา แต่หากไม่มีสถานีจอดที่นี่จะทำให้เสียประโยชน์ ปัจจุบันงานก่อสร้างเดินหน้าไปแล้วหลายสัญญา ตั้งเป้าจะเปิดบริการในปี 2570 (อ่านข่าว ผู้ว่าการรถไฟ ขออย่าจุดประเด็นสถานีอยุธยา ยันเสนอแนะได้ ไม่ใช่ตั้งหน้าตั้งตาค้าน เผยคืบหน้าเยอะแล้ว)

‘มติชนออนไลน์’  ค้นคว้าเอกสาร ‘รายงานการประชุมหารือ กรณีสถานีอยุธยาของโครงการรถไฟความเร็วสูง ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา’ เมื่อวันอังคารที่ 6 ตุลาคม พ.ศ.2563 เวลา 10.00 น. ที่ห้องประชุมกรมศิลปากร ชั้น 8 อาคารกรมศิลปากร เทเวศร์ กทม.

เนื้อหาของรายงานดังกล่าว ระบุว่า ผู้เข้าประชุมในวันนั้น ประกอบด้วยบุคลากรทั้ง 2 ฝ่าย ได้แก่

  1. กรมศิลปากร รวม 11 ราย นำโดย นายประทีป เพ็งตะโก อธิบดีกรมศิลปากรในขณะนั้น
  2. กระทรวงคมนาคม รวม 5 ราย นำโดย นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ รองปลัดกระทวงฯ รักษาการอธิบดีกรมการขนส่งทางราง โดยมีนายกำพล บุญชม รองวิศวกรใหญ่ด้านโครงการพิเศษ รฟท. ร่วมด้วย

การประชุม ประกอบด้วย 3 วาระ โดยในตอนหนึ่งของวาระที่ 2.2 เรื่อง ผลการพิจารณาของคณะกรรมการวิชาการเพื่อการอนุรักษ์โบราณสถาน กรมศิลปากร กรณีสถานีอยุธยาของโครงการรถไฟความเร็วสูงฯ ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ปรากฏในรายงานว่า นายสถาพร เที่ยงธรรม ผู้อำนวยการกองโบราณคดีในขณะนั้น แจ้งให้ที่ประชุมทราบถึงมติของคณะกรรมการวิชาการฯ ว่า

Advertisement

‘พื้นที่ที่ประสงค์จะก่อสร้างสถานีรถไฟความเร็วสูงนั้น อยู่ในเขตโบราณสถานอโยธยา ซึ่งปรากฏร่องรอยโบราณสถานสำคัญ อาคารสถานีรถไฟพระนครศรีอยุธยาเป็นโบราณสถานซึ่งอยู่ในระหว่างดำเนินการประกาศขึ้นทะเบียน การรถไฟแห่งประเทศไทยจะต้องได้รับอนุญาตจากกรมศิลปากรก่อน จึงจะดำเนินการก่อสร้างได้’

รายงานการประชุมฉบับเดียวกัน ระบุด้วยว่า ในวาระดังกล่าว นายประทีป เพ็งตะโก อธิบดีกรมศิลปากรในขณะนั้น ระบุว่า รถไฟความเร็วสูงในเส้นทางตามโครงการฯ มีหลายพื้นที่ผ่านเข้าไปใกล้เขตโบราณสถาน เช่น โบราณสถานสถานีรถไฟบางปะอิน ทำให้โบราณสถานได้รับผลกระทบ เช่นเดียวกับสถานีรถไฟพระนครศรีอยุธยา จึงขอให้ รฟท. ส่งรายละเอียดรูปแบบราง และอาคารสถานีแนวเส้นทางเดินรถไฟความเร็งสูงตลอดเส้นทางให้กรมศิลปากรพิจารณาด้วย เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบที่อาจมีต่อโบราณสถาน

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

Advertisement

นักวิชาการ ล่ารายชื่อ ‘Saveอโยธยา’ รับไม่ได้ทำลายจุดขาย โปรเจ็กต์ ‘รถไฟผ่าเมืองโบราณ’

‘Saveอโยธยา’ งัดเหตุผลโต้ครหา ‘ถ่วงความเจริญ’ ลั่น เพิ่มเงินแค่นี้รักษาโบราณวัตถุ ทีเรือดำน้ำยังกล้าซื้อ

อาจารย์ม.ราม สับเละกลางซูม เมนต์ทุกหน้า โปรเจ็กต์รถไฟ ‘ผ่ากลางเมืองอยุธยา’

สปาฟา ติงประเมิน HIA ไฮสปีดเทรนอยุธยา ‘ไม่สามารถทำให้คนรับฟังเชื่อได้’ อ.โบราณฯแจงติด 2 กรอบ

นักผังเมืองแนะประเมินทุกทางเลือก ปมไฮสปีดเทรนอยุธยา อดีตคณบดีโบราณฯ รับหนักใจ เวลาจำกัดแค่ 6 เดือน  

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image