เว็บไซต์นี้ใช้คุ้กกี้เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีมีประสิทธิภาพยิ่งขี้น อ่านเพิ่มเติมคลิก (Privacy Policy) และ (Cookies Policy)
bg-single

Hedonic Eating อร่อยปาก ลำบากกาย

11.07.2024

Hedonic Eating หมายถึง “การกิน” ที่มิได้เกิดจาก “ความหิว” แต่เป็นความปรารถนาการกินอาหารเพื่อความสุข

Hedonic Eating เป็นนิยามที่ใช้อธิบายนิสัยการกินรูปแบบหนึ่ง ซึ่งตั้งชื่อตาม Hedone “เทพีแห่งความสุข” ตามตำนานเทพเจ้าของกรีก

โดย Hedone ได้กลายเป็นศัพท์ในภาษากรีก ที่หมายถึง “ความสุข”

ปกติแล้ว การทำกิจกรรมของมนุษย์ต้องมีการเคลื่อนไหวตลอดวัน ไม่ว่าจะเป็นกล้ามเนื้อ หรือสมอง ที่ต้องอาศัยพลังงานจากอาหาร และเครื่องดื่ม หรือที่เรียกว่า Calorie

และเมื่อเราเผาผลาญ Calorie ไปมากกว่าปริมาณที่เรารับประทาน ร่างกายก็จะตอบสนองด้วยการส่งสัญญาณความหิว กลไกการทำงานก็คือ กระเพาะอาหารจะหลั่งฮอร์โมนส่งไปบอกสมองเมื่อท้องของเราเริ่มว่างเปล่า

กระบวนการนี้เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางว่า “ความหิวทางกาย”

นอกจาก “ความหิวทางกาย” ยังมี “ความหิว” อีกรูปแบบหนึ่ง มีชื่อว่า Hedonic Eating

Hedonic Eating เป็น “ความหิว” ที่เกิดจากความต้องการบริโภคอาหารเพื่อ “ความสุข”

แน่นอนว่า “การกิน” คือ “ความสุข” ของใครหลายคน แต่การกินแบบ Hedonic ไร้ซึ่งความต้องการพลังงานอย่างสิ้นเชิง

ดังนั้น Hedonic Eating จึงเชื่อมโยงกับ “สังคม” ที่ “หาอาหารกินได้ง่าย” และ “ความหิวโหย” เป็นสิ่งที่ “หายาก”

 

ศาสตราจารย์ ดร. James Stubbs ผู้เชี่ยวชาญด้านความอยากอาหารและความสมดุลของพลังงาน จากมหาวิทยาลัย Leeds สหราชอาณาจักร บอกว่า อันที่จริงแล้ว มนุษย์เราส่วนใหญ่มีนิสัยการกินแบบ Hedonic

“ผู้คนจำนวนมากมีพฤติกรรมการกินแบบ Hedonic หรือความพึงพอใจที่จะกิน มากกว่ากินเพราะความหิว” ศาสตราจารย์ ดร. James Stubbs กล่าว และว่า

“อาหารหมายถึงความสุขสำหรับบางคน เมื่อเทียบกับคนอื่นๆ ที่อาหารคือสิ่งจำเป็น”

นอกจากความสุขแล้ว นิสัยการกินของมนุษย์เรา ส่วนใหญ่ยังเชื่อมโยงกับตัวแปรอื่นๆ มากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อารมณ์ และความรู้สึก หรือเพื่อหลีกเลี่ยงความเครียด ความไม่สบายใจ

“มักจะมีเส้นบางๆ ที่คั่นความแตกต่างระหว่างความหิวทางกาย กับความหิวแบบ Hedonic อยู่เสมอ”

“เพราะเป็นธรรมดา ที่เมื่อเรากินเพื่อความสุข เราก็จะถูกดึงดูดให้รับประทานอาหารที่มีน้ำตาลสูง เกลือสูง หรือไขมันสูง” ศาสตราจารย์ ดร. James Stubbs กล่าว และว่า

“การกินแบบ Hedonic คือการแสวงหาความสุขจากการกิน เมื่อเป็นเช่นนี้ แค่สลัดหนึ่งชาม กะหล่ำปลีหั่นบางๆ หนึ่งแผ่น หรือกะหล่ำดาวหนึ่งจาน ไม่ใช่เป้าหมายของ Hedonic อย่างแน่นอน”

ดังนั้น การกินแบบ Hedonic คือความอยากกินที่มิได้เกิดจากความหิว จึงเสี่ยงที่จะทำให้เกิดโรคอ้วน

“ในกรณีนี้ จะเห็นได้ว่า ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับอาหารนั้นซับซ้อน และบ่อยครั้งมักไม่ดีต่อสุขภาพของเราเท่าไหร่” ศาสตราจารย์ ดร. James Stubbs กล่าว และว่า

ถ้าคุณเรียกหาของหวาน ขนม Snack หรือเครื่องดื่มหวานๆ ระหว่างวัน แม้ว่าเพิ่งจะรับประทานอาหารมื้อหลักที่มีประโยชน์ และน่าพึงพอใจไปแล้วไม่นาน

“หากเป็นเช่นนี้ คุณอาจกำลังหลงติดกับนิสัยการกินที่พวกเราเรียกว่า การกินแบบ Hedonic ไปแล้วอย่างแน่นอน” ศาสตราจารย์ ดร. James Stubbs สรุป

 

สอดคล้องกับศาสตราจารย์ ดร. Bethan Mead อาจารย์ และนักวิจัยจากกลุ่มงานวิจัยความอยากอาหารและโรคอ้วน แห่งมหาวิทยาลัย Liverpool สหราชอาณาจักร ที่กล่าวว่า โดยธรรมชาติแล้ว คนเรามักมองหาอาหารไขมันสูง เกลือสูง และน้ำตาลสูง นอกจากเป็นการให้รางวัลตัวเองแล้ว มันยังเป็นแหล่งพลังงานที่ดี”

“เรามักถูกดึงดูดจากอาหารเหล่านี้ เนื่องจากพลังงานที่ได้รับจากพวกมัน รวมถึงความสุข อาจไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะแยกแยะ ว่าความต้องการกินอาหารเหล่านี้ เกิดขึ้นเพราะความหิวทางกาย หรือความหิวแบบ Hedonic” ศาสตราจารย์ ดร. Bethan Mead กล่าว และว่า

ในทางกลับกัน อาหารที่อัดแน่นไปด้วยไขมัน เกลือ และน้ำตาล ก็เป็นปัจจัยหนึ่ง ซึ่งกระตุ้นให้เกิดการกินแบบ Hedonic ไปในตัว

“โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นักวิจัยได้ค้นพบว่า แรงจูงใจที่ขับเคลื่อนด้วยความหิวแบบ Hedonic ส่งผลให้เกิดการบริโภคอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ ซึ่งจะนำไปสู่โรค NCDs (Non-Communicable Diseases)” ศาสตราจารย์ ดร. Bethan Mead กล่าว และว่า

เห็นได้ชัดว่า ทุกวันนี้ เรารายล้อมไปด้วยอาหารรสเลิศ หาง่าย และพร้อมรับประทาน

“สิ่งเหล่านี้ก่อให้เกิดสูตรอาหารที่ทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้น นำไปสู่โรคอ้วนในสังคมสมัยใหม่ จึงไม่น่าแปลกใจที่พบว่าคน 8 ใน 10 เป็นโรคอ้วน” ศาสตราจารย์ ดร. Bethan Mead ระบุ

 

อย่างไรก็ตาม มีงานวิจัยจำนวนมากที่บอกกับเราว่า ในทางทฤษฎีแล้ว การกินเพื่อเติมเต็มความสุขไม่ใช่เรื่องผิด แต่ความเสี่ยงจากการกินมากเกินพอดี จะทำให้เกิดอาการเสพติด และจะส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาวจากความอ้วน

เห็นได้จากการทดลองของประเทศตุรกี ที่ตีพิมพ์เมื่อเดือนมกราคม ปี ค.ศ.2024 ในวารสารวิชาการ Human Nutrition and Dietetics ซึ่งเป็นการวิเคราะห์หาค่าความสัมพันธ์ระหว่างความหิวแบบ Hedonic กับความหิวในผู้ที่เป็นโรคอ้วน

ผลการศึกษาดังกล่าวพบว่า ความหิวแบบ Hedonic ที่เพิ่มขึ้นในผู้ที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน จะทำให้เกิดความวิตกกังวลต่อคนคนนั้นเป็นอย่างมาก

“งานวิจัยชิ้นนี้บอกกับเราเป็นนัยว่า ความหิวแบบ Hedonic สามารถลดลงได้ เมื่อผู้คนเริ่มลดน้ำหนัก” ศาสตราจารย์ ดร. Bethan Mead กล่าว และว่า

ผู้ที่จัดการกับความรู้สึกแบบนี้ได้ จะหลีกเลี่ยงอาหารเค็มจัด หวานจัด และมันจัด พวกเขาจะเปลี่ยนวิธีให้รางวัลตัวเอง แทนการกินแบบ Hedonic ไปอย่างสิ้นเชิง

 

ศาสตราจารย์ ดร. James Stubbs เห็นด้วยกับศาสตราจารย์ ดร. Bethan Mead เขากล่าวว่า การลดน้ำหนัก การปรับรูปแบบการกิน หรือเปลี่ยนวิถีชีวิตประจำวันใหม่เพื่อให้สุขภาพดีขึ้น อาจไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับใครหลายคน

“ดังนั้น เราจึงมีวิธีเปลี่ยนพฤติกรรมให้เป็นการกินแบบ Hedonic ที่น่าพึงพอใจได้ไม่ยาก” ศาสตราจารย์ ดร. James Stubbs กล่าว และว่า

เคล็ดลับก็คือ “การกินอย่างมีสติ” ที่สามารถหลีกเลี่ยงการกินแบบ Hedonic ได้อย่างชะงัดนัก

“อุปมาอุปไมยก็คือ ถ้าคุณต้องการเปลี่ยนกิจวัตรประจำวัน ขอให้นึกถึงกิจกรรมที่ทำให้คุณพึงพอใจ เช่น ถ้าเป็นเรื่องยุ่งยากหากคุณต้องเดินทางไปที่ยิมเพื่อออกกำลังกาย คุณอาจเริ่มต้นง่ายๆ ด้วยการเดินเล่นในสวนสาธารณะแทน”

“ประเด็นสำคัญก็คือ การพยายามทำความเข้าใจ ว่าความสุขของคุณคืออะไรกันแน่ และพยายามปรับนิสัยของคุณให้สอดคล้องกับสิ่งที่ทำให้คุณมีความสุข ที่สำคัญก็คือ สุขภาพต้องดีด้วย” ศาสตราจารย์ ดร. James Stubbs กล่าว และว่า

แน่นอนว่า สลัดผัก 1 จานมันไม่อยู่ท้องหรอก แต่เราไม่ได้ต้องการห้าม หรือหยุดผู้คนให้เลิกนิสัยการกินแบบ Hedonic โดยสิ้นเชิง

“เราแค่ต้องการกระตุ้นให้ผู้คนรู้ว่า มีทางเลือกในการรับประทานอาหารมากมายที่สร้างความสุขได้นอกจากกินแบบ Hedonic” ศาสตราจารย์ ดร. James Stubbs กล่าว และว่า

วิธีหนึ่งก็คือ “วิถีชีวิตแบบ 80/20”

“วิถีชีวิตแบบ 80/20 ก็คือ 80% ในแต่ละวัน คุณต้องกินอาหาร Calorie ต่ำ ซึ่งอุดมไปด้วยสารอาหารครบถ้วนทั้ง 5 หมู่” ศาสตราจารย์ ดร. James Stubbs กล่าว และว่า

และเพื่อให้คุณมีความสุขกับการกินมากขึ้น คุณยังมีอีก 20% เพื่อเพลิดเพลินกับของหวาน ขนม Snack หรือเครื่องดื่มหวานๆ แม้กระทั่งแอลกอฮอล์ที่ช่วยเพิ่มความสุขให้กับชีวิต

“แน่นอนว่า สิ่งเหล่านี้มักเชื่อมโยงกับงานเลี้ยง หรือกิจกรรมทางสังคมที่สำคัญในชีวิตคุณ” ศาสตราจารย์ ดร. James Stubbs ทิ้งท้าย

 



เนื้อหาที่ได้รับการโปรโมต

ชื่อ ‘สุวรรณภูมิ’ มีที่มาจากการเป็นแหล่งวัตถุ และเทคโนโลยีการผลิต ‘ทองสำริด’
“พล.อ.ประวิตร”ส่งสัญญาณแรง หลังมีคลิปหลุดผู้นำเขมรสั่งไล่ล่าคนเห็นต่างบนแผ่นดินไทย ลั่น ไทยต้องไม่ถูกมองว่าอ่อนแอ ถาม“แพทองธาร”กล้าที่จะยืนข้างประชาชนหรือไม่ ?
“เท้ง ณัฐพงษ์” เสนอใช้กลไกสภาแก้ปัญหาประชาชนอย่างเร่งด่วน ประธานนัดประชุม 3 ก.ค.ทันที – รัฐบาลถอนร่างเอนเตอร์เทนเมนต์คอมเพล็กซ์
พิชัย รับลูก นายกฯ กำชับทีมพาณิชย์ ดูแล ปชช. ในพื้นที่ชายแดนใกล้ชิด ลดผลกระทบการค้า เร่งกระจายผัก-ผลไม้ ช่วยพี่น้องเกษตรกร
ดร.เอ้ เขียน”จดหมายเปิดผนึก” ถึง ว่าที่ “รมว.ศึกษาธิการ” และ ว่าที่ “รมว.อุดมศึกษาฯ ชี้20ปีใช้ รมต.ไปเกือบ20คน สะท้อนความไม่ใส่ใจ
เมื่อ AI รับตำแหน่ง CEO!
ความขัดแย้งไทย-กัมพูชา จากแว่นของสหรัฐอเมริกาและจีน
เจาะโครงการ ‘น้ำ-คมนาคม’ ของบประมาณ 1.57 แสนล้าน เร่งปั๊ม ศก.-รักษาฐานเสียง รบ.
ชายแดนใต้ ‘เทศกาลอีดิ้ลอัฎฮา’ ระเบิด เชือดสัตว์พลีทาน และฟุตบอล
ลูกหลานเราจะเติบโตอย่างไร ถ้าเราดูแลครูของเราไม่ดี
MatiTalk ‘เสธ.หิ’ หิมาลัย ผิวพรรณ เปิดใจจุดพลิกผันในชีวิต จากทหารสู่เวทีการเมือง มองอนาคตพรรค ‘รทสช.’
‘ถกเขมรเถียงสยาม’ บทสนทนาสร้าง ‘สติ-ปัญญา’ ในภาวะขัดแย้ง ‘ไทย-กัมพูชา’